Wednesday, 29 March 2017 08:16 |
พุทธทำนาย พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า โลกในยุคกึ่งพุทธกาล (หลังปี 2500) จะเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงหลายอย่างและศีลธรรมจะเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ สรุป :โลกจะเสื่อมถอยทั้งด้านกายภาพและจิตวิญญาณ ข้อสังเกต : ความเสื่อมมาเร็วและแรงกว่าที่คิดหรือไม่ เพราะเราเพิ่งเลยช่วงกึ่งพุทธกาลมาเพียง 60 ปี แล้วอีกสองพันกว่าปีข้างหน้าล่ะ จะอยู่กันอย่างไร คำถาม : เราจะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรม หรือควรจะมีบทบาทในการแก้ปัญหาเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น หรือรุนแรงน้อยลง ทางเลือกของคนดีคือไม่ดูดาย ในฐานะบุคลากรทางการศึกษา ได้ชื่อว่าเป็น “ครู” แปลว่า ผู้รับภาระหนัก สังคมจึงยกย่องให้เป็น ปูชนียบุคคล เราจึงไม่ควรดูดายหรือเพิกเฉยต่อปัญหานี้ ต้องร่วมมือร่วมใจผนึกกำลัง ช่วยกันยกระดับหรือเยียวยาสังคมให้ดีขึ้นเต็มกำลังความสามารถ ต้นตอของปัญหาคือการจัดการศึกษาที่หลงทิศ ท่านพุทธทาสกล่าวว่า การศึกษาที่ไม่ให้ความสำคัญกับคุณธรรม เป็นการศึกษาแบบพระเจดีย์ยอดด้วน หรือสุนัขหางด้วน คำถามคุณครูทั้งหลายยอมรับไหมว่า การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับ “ความเก่ง” จนสุดโต่ง แต่มีพื้นที่ให้ “ความดี” เพียงน้อยนิด การศึกษาแบบพระเจดีย์ยอดด้วน การจัดการเรียนการสอนหรือการจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมจึงออกมาในแนวนี้ : • ไม่มีเวลาแทรกคุณธรรมในการสอน เร่งด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว อัดเต็มที่ แถมมีติวนอกเวลาและวันหยุด จนเด็กแฮงก์เพราะไม่มีเวลาผ่อนคลายให้ชีวิตมีความสมดุล • จัดค่ายคุณธรรมตามนโยบาย แต่จัดแบบแกนๆ ขอไปที ให้แล้วๆ ไป พอได้รายงาน บางทีรายงานเท็จ จัดจริงวันเดียว แต่รายงานและทำหลักฐานว่าจัด 3 วัน (แหล่งข่าวจากครูดีกระซิบมา) เช่น - จัดที่โรงเรียน วันเดียวจบ กลัวเปลืองงบ เสียเวลา กลัวเสี่ยงอันตรายจากการเดินทางออกนอกสถานที่ - ถ้าจะพานักเรียนไปเข้าค่ายที่วัด ไปวัดไหนก็ได้ เข้าใจ (ผิดๆ) ว่าวัดไหนก็สอนได้เหมือนกัน - จัดค่ายเน้นสันทนาการ บางครั้งตลกโปกฮา สนุกสนานเป็นหลัก เพราะกลัวเด็กๆ เบื่อ เลยกลายเป็นปฏิบัติกิเลส ไม่ใช่ปฏิบัติธรรม (แต่ถ้าเป็นงานวิชาการ โดยเฉพาะทัศนศึกษา ไกลแค่ไหนก็ไปได้ไม่เสียดายงบประมาณและเวลา ไม่กลัวเสี่ยงอันตรายจากการเดินทาง) ทุกปัญหามีทางออก ถ้าไม่ยอมแพ้แก้ได้ไม่ยาก • สร้างแนวร่วม ผนึกพลังคุณธรรมเพื่อสู้พลังอธรรม จะได้ไม่ต้องสู้อย่างโดดเดี่ยวและอาจเหี่ยวเฉาในที่สุด • ผู้มีอำนาจ (ผู้บริหาร รองฯ หัวหน้าหมวด ฯลฯ) ใช้อำนาจโดยธรรม ถ้ามีการต่อต้านงานคุณธรรม จำเป็นต้องใช้ “คำสั่ง” ก็ต้องทำ เพราะเป็นคำสั่งที่แฝงด้วยเมตตา ให้ทุกคนได้มีโอกาสทำดีร่วมกัน
“ค่ายคุณธรรม” จำเป็นไหม? จำเป็น ! ไม่ใช่เพราะเป็นคำสั่งหรือนโยบาย แต่เป็นการ “เพาะเมล็ดพันธุ์”และ “ปลูกฝัง” คุณความดีไว้ในจิตสำนึกที่หยั่งลงในระดับค่อนข้างลึกกว่ากิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมรูปแบบอื่นๆ แต่ต้องทำให้ถูก และทำให้ถึง “ค่ายคุณธรรม” ที่เน้น “คุณภาพ” • ค่ายคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือค่ายที่เน้นการ “ฝึกจิต” เพราะเป็นการปลูกฝังคุณธรรมได้ถูกจุดและลงลึกที่สุด ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยเอื้อดังนี้
1. จัดเวลา “อบรม” “บ่มเพาะ” อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 วัน 2. จัดหลักสูตร ให้เหมาะสม ไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป มีความสมดุลทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 3. คณะวิทยากร มีความสามารถ และความชำนาญในการดำเนินกิจกรรม 4. บรรยากาศที่สงบร่มรื่น 5. เป็นค่ายที่มีความเชื่อมโยงการปฏิบัติในค่ายกับการดำเนินชีวิตประจำวัน แนะนำ “แดนธรรมวะภูแก้ว” (ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ กระทรวงศึกษาธิการ วัดวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา)
ที่นี่ คือ... • ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สร้าง “คน” ให้เป็น “มนุษย์” (ผู้มีใจสูง) • เปลี่ยนเด็กดื้อให้เป็นเด็กดี เด็กหมดอนาคตให้มีอนาคต • สร้างสำนึกของความกตัญญูต่อบิดา-มารดา ผู้มีพระคุณ ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ • สร้างจิตสำนึกในวิชาชีพ ให้เห็นคุณค่าในวิชาชีพที่ทำอยู่ โดยเฉพาะอาชีพ “ตามรอยโพธิสัตว์” (ครู หมอ พยาบาลตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐ ฯลฯ) ■ทำไมจึงเลือกใช้ “การฝึกจิต” ด้วยการเจริญสติ และทำสมาธิภาวนา ●พระพุทธศาสนาสอนว่าเรามีใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ ● นักวิทยาศาสตร์ทางจิตพบว่า จิตที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องจะมีอานุภาพมาก ●นักจิตวิทยาเห็นว่า การเจริญสติ การทำสมาธิภาวนาสามารถยกระดับจิตใจลึกถึงรหัสพันธุกรรม (NEUROLINKGE PROGRAM) -------> พุทธศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า พฤติกรรมของเรามีจิตเป็นผู้สั่ง การแก้ปัญหาพฤติกรรม ที่ตรงจุดที่สุด คือแก้ที่จิต
■การจัดหลักสูตร / กิจกรรม ที่สามารถเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ฝึกการเจริญสติ และสมาธิ ในการทำงานต่อไปนี้ : สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ฟังบรรยาย อ่านหนังสือ บริหารกาย ไม่เน้นสนุกสนาน คึกคะนอง ขาดสติ แต่ให้มีความร่าเริงในธรรม
■มีปัจจัยเอื้อพร้อมที่จะน้อมจิตให้มีความสงบและมีพลัง ●สถานที่สงบร่มรื่น ท่ามกลางแมกไม้สีเขียว อากาศถ่ายเทได้ดี ทำให้คลายเครียด และเกิดความสงบได้ง่าย ●หลักสูตรที่ลงตัว ทดลองมากว่า 20 ปี ไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป ภาคทฤษฏี และปฏิบัติมีความสมดุล เหมาะสมกับทุกวัย ทุกอาชีพ ●วิทยากรที่มีคุณภาพ ชำนาญงาน มีกลยุทธ์ในการถ่ายทอดที่น่าสนใจ
■ผลงานได้รับการยอมรับ ●ได้รับสมญานามเป็น “แดนธรรมวะภูแก้ว” ในคำขวัญอำเภอสูงเนิน ● ได้รับการประเมินจากศูนย์คุณธรรมว่าเป็น 1 ใน 4 โครงการ ที่ถือว่าประสบความสำเร็จ (ประเมิน 50 โครงการทั่วประเทศ ด้วยการส่งนักวิจัยมาสังเกตการณ์การอบรมอย่างใกล้ชิด) ●เป็น 1 ใน 56 สถานที่ปฏิบัติธรรมระดับประเทศ ที่ได้รับการแนะนำว่าเหมาะสมกับการปฏิบัติธรรม ■ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ● จิตที่มีพลัง คือ พลังสติ สัมปชัญญะ สมาธิ จะพัฒนาสติปัญญา ( IQ) และปัญญาสัมมาทิฏฐิ รู้ผิดชอบชั่วดี (EQ) ● มีภูมิคุ้มกันต่อสิ่งยั่วยุให้ทำผิดทำชั่ว ● มีความอดทนต่อปัญหาอุปสรรค ● พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส พลิกบาปให้เป็นบุญ ● สงบได้ท่ามกลางความวุ่นวาย สบายท่ามกลางความทุกข์ สุขท่ามกลางความไม่สบาย ปัญหาคาใจ ปิดค่ายแล้ว จากภาพรวมของการจัดอบรมมากว่า 20 ปี ผู้ผ่านการอบรมอย่างน้อย 70% มีจิตสำนึกและพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น แต่! อาจจะมีคำถามกวนใจจากฝ่ายต่อต้านตามมา เตรียมตั้งรับไว้ให้พร้อม ●ทำไมให้ทำสมาธินานนัก ตั้ง 20 – 30 นาที ตอบ เพื่อฝึกความอดทน และสะสมความสงบ ถ้าทำสมาธิ 5 นาทีเลิก! ปวดขา เลิก! เด็กจะเป็นคนจับจด สมาธิสั้นไม่มีความอดทนอดกลั้น (น่าถามกลับว่า วิชาที่คุณครูสอนอยู่ทำไมต้องสอนตั้ง 50 นาที ทำไมไม่สอนแค่ 5 – 10 นาที เพราะเด็กหลายคนก็เบื่อเหมือนกันนะ)
• เด็กคนนี้ก็ยังแย่เหมือนเดิม ไม่เห็นดีขึ้นเลย (เจาะจงยกตัวอย่างเด็กที่พัฒนาการ ไม่ดีขึ้น) ตอบ ไม่มีงานไหนที่จะทำได้ผล 100% แม้แต่การเรียนในโรงเรียนก็ไม่ได้ทำให้เด็กเก่งและดีทุกคน จะได้ดีเฉพาะเด็กที่ เอาดี • เด็กที่ดีขึ้น ก็ดีอยู่ไม่กี่วัน แล้วก็กลับมาแย่อีก ตอบ - ถ้าไม่ได้มาเข้าค่าย อาจหาวันที่เป็นคนดีไม่ได้สักวัน ดีได้วันสองวันก็เลิศแล้ว และน่าจะมีเด็กที่เปลี่ยนพฤติกรรมได้ยั่งยืนหลายคน น่าจะคิดบวกบ้าง -เด็กมาเข้าค่าย 3 วัน 5 วัน ยังกลับลำได้ แต่อยู่ในโรงเรียน 3 ปี 5 ปี กลับตัวได้ไหม ●ถ้าต้องการให้พฤติกรรมที่พึงประสงค์ยั่งยืน จะทำอย่างไร - การปฏิบัติต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน ด้วยการทำสมาธิ และการทำการงานอย่างมีสติ เป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันทางจิต (ถึงจะทำได้ไม่มาก ก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย ยิ่งทำมากยิ่งได้มาก) - กำลังใจจากครอบครัวและโรงเรียน เป็นการเสริมภูมิคุ้มกันอย่างดี - การต่อยอดจากโรงเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม เช่น การเน้นให้นักเรียนทำสมาธิในการเรียนด้วยความจดจ่อ ทำสมาธิ (หลับตาดูจิต ดูลมหายใจ) 5 นาทีก่อนเรียน ใส่บาตร ฟังธรรม บำเพ็ญจิตอาสา ฯลฯ
|
Last Updated on Saturday, 08 April 2017 03:32 |