ทำความเข้าใจกับเรื่องของจิต |
Friday, 02 December 2011 07:35 | |||
ศาสนาหลักของโลกทุกศาสนา สอนให้คนละชั่ว ทำความดี ซึ่งความดี ความชั่วจะปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมจากพฤติกรรมทางกายและวาจา ส่วนพฤติกรรมทางจิตหรือใจนั้นยากที่จะวัดได้สังเกตได้หลักคำสอนในบางศาสนาจึงมีแต่เรื่องของ “ศีล” คือ ความปกติทางกายและวาจาเท่านั้น บางศาสนาก็พัฒนาไปถึงเรื่อง “สมาธิ” คือ ความสงบทางใจ แต่มีเพียงพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ก้าวล้ำไปถึงขั้น “ปัญญา” ที่ใช้ในการแก้ทุกข์และถอดถอนกิเลศตัณหาอุปาทานออกจากจิตได้โดยสิ้นเชิง ดังนั้น การนำหลัก “ไตรสิกขา” (ศีล สมาธิ ปัญญา) ไปเป็นหลักในการพัฒนาจิต เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล แก้ปัญหาสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคมจึงเป็นแนวทางที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพที่สุด
1. “จิต” ตามความหมายในพระพุทธศาสนา“จิต” ตามคำนิยามที่ปรากฏในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (2538 : 43) คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ สภาพที่นึกคิด ความคิด ใจ และฉบับประมวลธรรม (2543 : 329) อธิบายว่า จิตมีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และวิญญาณ เป็นต้น
จิตเป็นนามธาตุ ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในคูหากาย มีหน้าที่สั่งกาย ให้ทำ พูด คิด ดังนั้น พฤติกรรมทางกาย วาจา และแม้แต่ความคิด ล้วนออกมาจากการสั่งการของจิตทั้งสิ้น ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “เรามีใจเป็นนาย มีกายเป็นบ่าว” และ “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ”
จิตเป็นธาตุรู้ แต่ถ้าจิตไม่ได้รับการฝึกฝนไว้ดีแล้ว จะเป็นจิตที่รู้หลง รู้ผิด และมักจะสั่งกาย วาจา ให้ทำชั่ว พูดชั่ว แต่ถ้าจิตนี้ได้รับการฝึกฝนอบรมและพัฒนาดีแล้ว ก็จะรู้ถูกมากขึ้น พฤติกรรมทางกายและวาจาก็จะดีตามไปด้วย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (2534 : 60-61) ตรัสว่า
2. การศึกษาค้นคว้าเรื่องพลังจิตในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทางจิตยุคปัจจุบันให้ความสนใจกับเรื่องของพลังงานที่แฝงอยู่ในกายหรือ “จิต” เป็นอย่างมาก มีการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสหภาพ โซเวียต ผลการวิจัยได้ข้อสรุปที่สอดคล้องกับคำสอนในพระพุทธศาสนา เช่น ในหนังสือทศวรรษใหม่แห่งการค้นคว้าพลังจิตและพลังลึกลับในสหภาพโซเวียต (2536 : 113) ได้กล่าวถึงการค้นคว้าเรื่องพลังจิตของ ศาสตราจารย์ ดร. เจนาดี เซอร์จีเยฟ ซึ่งกล่าวถึงการค้นคว้าทดลองของเขาว่า
ดังนั้น การพัฒนาจิต หรือ การบริหารจิต คือ กระบวนการเพิ่มพลังจิตเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างกว้างขวาง
บรรณานุกรม
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 2543.
|
|||
Last Updated on Saturday, 03 December 2011 04:05 |