กฎแห่งกรรม
Tuesday, 16 March 2010 01:49


          เราต้องมีศรัทธาความเชื่อว่า :-
          • กรรมมีจริง  บุญ – บาป  มีจริง
          • ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว


          เนื้อหา
          1.  การตรัสรู้  3  ยามของพระพุทธเจ้าเป็น กฎธรรมชาติ   กฎแห่งกรรม  เป็น
               กฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าค้นพบในการตรัสรู้ยามที่ 2 (จุตูปปาตญาณ)
          2.  “กรรม”  =  การกระทำ (เป็นคำกลางๆ)
               การทำดี – กุศลกรรม 

               การทำชั่ว  -  อกุศลกรรม


          3. การกระทำ  การพูด  การคิด  ก่อให้เกิดพลังงาน  (จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์)
              • การทำดี  พูดดี  คิดดี  ก่อให้เกิดพลังบุญ  มีลักษณะเบา  สว่าง  เย็น
              • การทำชั่ว  พูดชั่ว  คิดชั่ว  ก่อให้เกิดพลังบาป  มีลักษณะ  หนัก  มืด  ร้อน
              ตัวอย่าง
              เวลามีอารมณ์โกรธ  แล้วดูใจตัวเอง  มีความรู้สึกอย่างไร  (หนักอก  รุ่มร้อน)  จากนั้นให้นึกถึงการทำความดี  เช่น  ช่วยเหลือผู้อื่น  ความรู้สึกเป็นอย่างไร  (เบา แจ่มใส)


          4. พลังงานดังกล่าว  เมื่อสะสมมากขึ้นๆ จะเกิดแรงดึงดูด
              พลังบุญ  จะดึงดูด  ความสุข  สมหวัง  โชคดี  เพื่อนดี  การงานดี  ฯลฯ   มาให้
              พลังบาป  จะดึงดูด  ความทุกข์  ผิดหวัง  โชคร้าย  เคราะห์ ฯลฯ
              (การดึงดูด  จะดึงดูดสิ่งที่เหมือนกันเข้ามา  ตามกฎ  Like attracks like = สิ่งที่เหมือนกันจะดูดเข้าหากัน)

 

          5. การสร้างกรรม (การกระทำ)  ไม่ว่าจะดี – ชั่ว   เปรียบเหมือนการหว่านพืช
              หว่านพืชเช่นไร  ได้ผลเช่นนั้น
              ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว

          6. ทำไมบางคนทำดี  แต่ได้รับเคราะห์  บางคนทำชั่วมากมาย  แต่กลับโชคดี
              •  การกระทำ  (ดี  -  ชั่ว)    เป็นเหตุ
                  เคราะห์ / โชค  เป็นผล
                  ผลที่ได้รับ  ไม่ได้มาจากเหตุในปัจจุบัน  แต่อาจเป็นเหตุที่สร้างไว้ในอดีต
                  (อดีต = เวลาที่ล่วงเลยมาแล้ว   ตั้งแต่เมื่อสักครู่   เมื่อวาน    ปีก่อน    20  ปีก่อน  
ชาติก่อน    หลายๆ ชาติก่อน)

                  การที่ยังไม่ได้รับผลกรรมชั่ว  อาจเป็นเพราะยังไม่ถึงเวลา  เหตุปัจจัยยังไม่พร้อมหรือแรงบุญยังค้ำจุนอยู่


          7. ทำไมบางคนทำชั่วนิดเดียว  ได้รับผลทันที  บางคนทำชั่วมากมาย  แต่ไม่ได้รับผล
              • การทำบาปส่งผลเร็ว  แม้ทำชั่วนิดเดียว  เพราะไม่มีพลังบุญค้ำจุนไว้  เปรียบบุญเหมือนเรือกระดาษหรือเรือกาบกล้วย  (กำลังน้อย)  ทำบาปเล็กน้อยเหมือนโยนแค่ก้อนกรวดเล็กๆ  ลงไปในเรือก็จมเรือได้
              • ทำบาปหนักแต่ได้รับผลช้า  เพราะมีแรงบุญเกื้อหนุนอยู่  เหมือนโยนก้อนหินใหญ่ลงบนเรือรบ  เรือไม่จมทันที


          8. กำลังของกรรม =  แรงกรรมที่จะติดตามส่งผลได้นานเท่าใด
              • กรรมส่งผลได้  7  วัน  ถ้า  7  วันไม่สามารถส่งผลได้  วันที่  8  หมดกำลังตาม  เป็นอโหสิกรรม
              • กรรมส่งผลได้  1  ชาติ  3  ชาติ  7  ชาติ  ........
              • อนันตริยกรรม  ให้ผลไม่นับชาติ


          9. ให้ความรู้เรื่องอนันตริยกรรม
              1. ฆ่าแม่  (มาตุฆาต)
              2. ฆ่าพ่อ  (ปิตุฆาต)
              3. ฆ่าพระอรหันต์  (อรหันตฆาต)
              4. ทำพระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต  (โลหิตุปบาท)
              5. ยุยงสงฆ์ให้แตกแยก  (สังฆเภท)
              •  ตัวอย่าง  เช่น  พระเจ้าอาชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชบิดา   (พระเจ้าพิมพิสาร) 

                  พระเทวทัต  ทำอนันตริยกรรม  ข้อ 4  และ  5


          10.  กรรมของการละเมิดศีล 5   :  หากได้เกิดเป็นมนุษย์  จะมีข้อเสียดังนี้
                ปาณาติบาต        ทำให้ ขี้โรค อายุสั้น
                อทินนาทาน        ทำให้ เกิดการสูญเสียทรัพย์  ทรัพย์สินวิบัติ
                กาเมสุมิจฉาจาร   ทำให้ ผิดหวังรัก,  เกิดผิดเพศ
                มุสาวาทา           ทำให้ ปากเหม็น  พูดอะไรไม่น่าเชื่อถือ
                สุราเมรยะ           ทำให้ ความจำไม่ดี  ปัญญาอ่อน  วิกลจริต



 

 

ค้นหา (พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม Enter)

ร้านจักรวาลอ๊อกซิเย่น

Banner

น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

Banner

เข้า Facebook ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว

Banner

แห่เทียนพรรษา 2558

Banner

ฐานิยปูชา 2556

Banner

www.thaniyo.net

Banner

ฐานิยปูชา 2555

Banner

เชิญชม วิดีโอ การแสดงธรรมของ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Banner

วัดป่าสาลวัน

Banner

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Banner

palungdham.com

Banner

ฐานิยปูชา 2553

Banner

สำรวจความคิดเห็น

เหตุผล สำคัญที่สุด ในการเข้ารับการอบรมพัฒนาจิต ที่วัดวะภูแก้ว ?
 

แบบสำรวจความคิดเห็น

วัดวะภูแก้วควรปรับปรุงเรื่องใดมากที่สุด
 

แบบสำรวจ

พระสงฆ์ในทัศนะของท่าน ?
 

โปรดแสดงความคิดเห็นของท่านได้ที่สมุดเยี่ยม

Banner