อย่างไร คือ การพัฒนาจิต |
Sunday, 13 September 2009 07:23 | |||
สัญชาติญาณของมนุษย์จะรักสุข เกลียดทุกข์ ปรารถนาความสุขทั้งกาย
และใจ แต่ในสภาพที่เป็นอยู่มนุษย์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับกาย
มากกว่าจิตใจหลายเท่า วิถีชีวิตจึงไม่สมดุล มุ่งแสวงหาความสุขทางกาย
และความมั่งมีด้านวัตถุมากกว่าการแสวงหาความสุขสงบทางใจ และหาก
การแสวงหานั้นไม่อยู่ในกรอบของศีลธรรมก็จะก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว
และสังคมหลายด้าน ความเสื่อมโทรมด้านจิตใจในสังคมยุคปัจจุบันจะ
นับว่าอยู่ในขั้นวิกฤตก็ว่าได้ สถิติคนฆ่าตัวตาย การใช้สารเสพติด
อาชญากรรม การมั่วสุมทางเพศ นับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
การแก้ปัญหาดังกล่าว หากยังละเลยเรื่องของจิต ก็ยังเป็นการแก้ปัญหา
ไม่ถูกจุดเพราะ “จิต” หรือ “ใจ” เป็นบ่อเกิดของความดีและความชั่ว
ทั้งปวง ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มี
ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ” ดังนั้นการพัฒนาจิตจึงเป็นรากแก้ว
ของการพัฒนาทั้งปวง
โครงการอบรมพัฒนาจิต ณ วัดวะภูแก้ว ก่อกำเนิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะช่วยแก้ปัญหาสังคมโดย
เฉพาะพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของวัยรุ่นยุคใหม่ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ ไตรสิกขา
(ศีล สมาธิ ปัญญา) เป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยมีพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย )
อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวันและประธานสงฆ์วัดวะภูแก้ว เป็นผู้อุปถัมภ์โครงการ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการพัฒนาจิตในแง่มุมที่กว้างขวางกว่าที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจกันว่า
ท่านได้ให้นิยามของคำว่า “สมาธิ” ไว้ว่า “การทำสมาธิ คือ การทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่ง ระลึก หมายความว่า เมื่อจิตของเรานึกถึงสิ่งใด ให้มีสติสำทับไปที่ตรงนั้น” ดังนั้นสมาธิจึงไม่ใช่กิริยาของกาย แต่เป็นกิริยาของจิตที่มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่กับปัจจุบัน การ
ปฏิบัติสมาธิภาวนา คือ งานดูกาย ดูจิตของตนเอง เป็นวิธีเตือนตน สั่งสอนตน ตรวจตราดูความ บกพร่องของตนว่าควรแก้ไขจุดใดบ้าง
การพัฒนาจิตให้มีพลังสติสัมปชัญญะเพิ่มพูนขึ้น จะเป็นบ่อเกิดของปัญญา พลังสติสัมปชัญญะจะมี
ความสัมพันธ์กับระดับของปัญญา กล่าวคือถ้าพลังสติสัมปชัญญะมีมาก ปัญญาก็มาก หากพลังสติ สัมปชัญญะมีน้อย ปัญญาก็ย่อมน้อยลงด้วย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย จำแนกการทำสมาธิเป็น 2 รูปแบบคือ สมาธิในวิธีการ หมายถึง การปฏิบัติสมาธิที่มีรูปแบบ มีวิธีการที่เป็นกิจลักษณะ
เช่น การนั่งสมาธิภาวนากำหนดลมหายใจหรือบริกรรมภาวนา การเดินจงกรม การ
เพ่งกสิณ การสวดมนต์ เป็นต้น
สมาธิในชีวิตประจำวันหรือสมาธิสาธารณะ เป็นการปฏิบัติสมาธิในชีวิต
ประจำวัน ด้วยการมีสติรู้อยู่กับงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน
รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดจนการงานต่างๆ
ธรรมชาติของจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝนหรืออบรมมาน้อย จะมีธรรมชาติเหมือน
น้ำ คือ พร้อมที่จะไหลลงต่ำอยู่เสมอ การพัฒนาจิตจึงเป็นงานทวนกระแส เป็นการ
ฝึกจิตที่ดิ้นรนกวัดแกว่ง พยศ ดื้อรั้น ให้เป็นจิตที่เชื่อง ว่าง่าย รู้ผิดชอบชั่วดี ดัง
นั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมพัฒนาจิตส่วนใหญ่ซึ่งมีสถิติเฉลี่ยไม่ต่ำ
กว่าร้อยละ 70-80 จะเข้ารับการอบรมด้วยความรู้สึกเป็นลบและต่อต้าน
ความสำเร็จของโครงการคือการคืนคนดีสู่สังคม และสร้างทรัพยากรบุคคลที่มี คุณภาพ คือ พร้อมทั้งความเก่ง ความดี และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดหลักสูตร
การอบรมซึ่งใช้เวลาเพียง 5 วัน เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นสิ่งที่ดูเสมือนว่า
จะเป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่จากการดำเนินโครงการมาแล้วเกือบ 20 ปี มีผู้เข้าอบรม
กว่า 500 รุ่น เป็นจำนวนประมาณ 200,000 คน ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลัก
สูตรมาอย่างต่อเนื่อง จนได้หลักสูตรและวิธีการอบรมที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นตาม
ลำดับ ดังนั้นผลการอบรมแต่ละรุ่นสามารถเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมของผู้เข้า
อบรมไปในทางที่ดีขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
ภาวะ, ระดับการศึกษาและหน้าที่การงานของผู้เข้าอบรม โดยบูรณาการหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนา จิตวิทยาการเรียนรู้ และการปรับพฤติกรรมมาเป็นแนวทางในการ ดำเนินโครงการ
วัน กล่าวคือ กิจกรรมในแต่ละวัน จะเริ่มด้วยการทำวัตรเช้า, เดินจงกรม, นั่งสมาธิ
ในช่วงรับอรุณ จากนั้นช่วงสายและบ่าย จะฝึกสมาธิในการอ่านหนังสือ, ฟังบรรยาย
หรือฝึกสมาธิในการฟัง ต่อด้วยการเดินจงกรมและนั่งสมาธิ ส่วนช่วงเย็น มีการทำ
วัตรเย็น และเดินจงกรม นั่งสมาธิ บางช่วงอาจมีการบริหารกายเพื่อคลายความปวด
เมื่อยบ้าง ผู้เข้าอบรมจะต้องปฏิบัติกิจกรรมทุกอย่างด้วยความมีสติสัมปชัญญะและมี
ความตั้งใจ โดยวิทยากรจะคอยให้คำแนะนำและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
นอกจากการอบรมจิตให้เกิดพลังสติสัมปชัญญะซึ่งจะก่อให้เกิดปัญญาในที่สุด
แล้ว ผู้เข้าอบรมจะต้องฝึกฝนตนเองให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยการเคารพกฎกติกาและมี
วินัยในตนเอง เช่น ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ การรู้ประมาณในการบริโภคโดยการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น การทำ
ความสะอาดศาลาปฏิบัติธรรม, อาคารที่พัก, ห้องน้ำ, โรงอาหาร การรับประทาน
อาหารต้องไม่เหลือทิ้ง เมื่อรับประทานเสร็จแล้วล้างภาชนะที่ใช้เอง
เริ่มต้นด้วยการสร้างแรงจูงใจ คือ โน้มน้าวให้ผู้เข้าอบรมเห็นประโยชน์และความ
สำคัญของการพัฒนาจิต เพื่อลดความรู้สึกต่อต้าน และมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรค
ในขณะปฏิบัติ เช่น ความปวดเมื่อย ความเบื่อหน่าย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการเสริมแรงด้วยการให้รางวัลผู้ที่ปฏิบัติได้ผลดี การให้บุคคล
ตัวอย่างที่สามารถเอาชนะอุปสรรคได้
ขั้นต่อมาคือการให้ธรรมะ เมื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เข้าอบรมเริ่มเปิดใจหรือค่อยๆ
หงายจิตที่เคยคว่ำมาในตอนแรกแล้ว ก็ค่อยๆ ให้ธรรมะที่สร้างจิตสำนึกทางคุณธรรม
มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป เห็นคุณค่าของการทำความดีและสร้างบุญกุศล มีความ
กตัญญูรู้คุณ เช่น เรื่องกฎแห่งกรรม ตายแล้วไปไหน พระคุณอันยิ่งใหญ่ เสพติดพิษ
มหันต์ เป็นต้น
และขั้นสุดท้าย คือ ขั้นละเลิกสิ่งผิด เมื่อผู้เข้าอบรมสั่งสมพลังสติสัมปชัญญะจน
เกิดปัญญาสัมมาทิฏฐิแล้วจะสำรวจตนเองว่า มีสิ่งผิดใดที่จะต้องละเลิก และมีความดี
ใดที่จะต้องเพิ่มพูน โดยกิจกรรม “สัญญาใจ” จะเป็นกิจกรรมเชื่อมโยงการปฏิบัติภาค
ฝึกฝนในการอบรมไปสู่การนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา
คุณภาพชีวิตตนเอง อันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมต่อไป
บทสรุปของการอบรมพัฒนาจิตมักจะจบลงด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส แววตาที่
อ่อนโยนแต่แฝงด้วยความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่หนทางของความดีงามของผู้เข้าอบรมเกือบ
ทุกคน
การฝึกฝนอบรมจิต แม้จะเป็นงานทวนกระแส ซึ่งต้องฝ่าฟันด้วยความทุกข์ยากทั้ง
แรงกายและแรงใจทั้งของผู้เข้ารับการอบรม และผู้ให้การอบรม แต่ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่ายิ่ง
นัก วิกฤตทางคุณธรรม ปัญหาสังคมจะลดลงไปได้มาก ทั้งครอบครัวและสังคมจะมี
ความร่มเย็นเป็นสุขดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า “จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้”
|
|||
Last Updated on Saturday, 03 December 2011 06:21 |