วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ (พระเทพวิทยาคม ) เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ “เมื่อกูตายแล้ว กูกลัวว่าศพของกูนี่แหละจะเป็นภาระยุ่งยากของลูกหลาน จะเกิดความสับสนวุ่นวายเพราะคนที่มาหากู ฝากตัวเป็นศิษย์มีมากมายหลายประเภท มีทั้งดีทั้งเลว ละโมบโลภมาก มาแสวงหาประโยชน์ต่าง ๆ นานาโดยไม่กลัวบาปกรรม....กูจึงขอให้โรงพยาบาลมารับศพไปภายใน 24 ชั่วโมง และหลังจากสิ้นสุดการศึกษาค้นคว้าแล้ว ก็ให้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลเช่นเดียวกับศพของอาจารย์ใหญ่ นักศึกษาแพทย์ประจำที่ร่วมกับท่านอื่นๆ กูขออย่างเดียว ให้ทุกคนเชื่อว่า บุญมีจริง บาปมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ (พระเทพวิทยาคม ) เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่วัดบ้านไร่ 2 (วัดบุไผ่) ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่วัดบ้านไร่ 2 (วัดบุไผ่) ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่วัดบ้านไร่ 2 (วัดบุไผ่) ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่วัดบ้านไร่ 2 (วัดบุไผ่) ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่วัดบ้านไร่ 2 (วัดบุไผ่) ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ พระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่หลวงพ่อเล่าว่า ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ซึ่งเป็นเวลาพลบค่ำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประนมพระหัตถ์นมัสการลาหลวงพ่อ หลวงพ่อคูณได้รวบพระหัตถ์ของพระองค์ไว้แน่นพร้อมกับกำหนดจิตและอธิษฐานในใจถวายพระพรว่า สุคโต สุคโต สุคโต
พระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่
สมเด็จพระเทพฯ ทรงพบ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม - หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม - หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เซรามิก งูกินกบ วิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
แสดงความอาลัยแด่ พระเดชพระคุณ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
คลิปคำสั่งเสีย หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนา บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ หลวงพ่อคูณ นางคำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์ นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์ โดยนางทองขาวเล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์นั้นกลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี 3 ฝันเห็นเทพองค์หนึ่งมีกายเรืองแสงงดงามลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้าน และกล่าวว่า “เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงามความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป” และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกสว่างให้ด้วย “ดวงมณีนี้เจ้าจงรับไป และรักษาให้ดี ต่อไปภายหน้าจะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง” เมื่อหลวงพ่ออายุครบ 11 ขวบ แม่ก็ถึงแก่กรรม พ่อได้นำไปฝากเป็นศิษย์วัดบ้านไร่ เพื่อให้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และ พระอาจารย์หลี ซึ่งได้เรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอมที่วัดบ้านไร่ ซึ่งเป็นสถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้านขณะนั้น นอกจากเรียนภาษาไทย และขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน ยังมีความเมตตาอบรมสั่งสอนวิชาคาถาอาคมเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณ นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์ตั้งแต่เป็นเด็ก จนอายุครบ 16 ปี ได้ออกจากวัดมาอยู่ในความอุปการะของน้าชายชื่อ โหม น้าสะใภ้ชื่อ น้อย ศิลปชัย ซึ่งมีอาชีพทำนา หลวงพ่อจึงได้ช่วยน้าชายทำนา แต่ด้วยอยากรู้อยากลอง และอยากเป็นหมอเพลงโคราช จึงได้ชักชวนเพื่อน คือ นายเล เพียมขุนทด เดินทาง ไปบ้านมะระ ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ฝากตัวเป็นศิษย์ครูสน ซึ่งเป็นครูเพลงที่มีชื่อเสียง ลูกศิษย์ทั้งชายและหญิงของครูสน ทุกคนต้องพักอยู่กินหลับนอนที่บ้านครูสนทั้งหมด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ระหว่างหัดเพลงต้องช่วยครูสนทำนา ใช้เวลาเรียนคนละ 2-3 ปี จึงจะออกเล่นเพลงได้ เมื่ออายุได้ 21 ปี ก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2487 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ คือ พระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ ได้รับฉายาว่า "ปริสุทโธ" หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา พระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระอย่างเคร่งครัด และทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและลูกศิษย์เป็นอย่างมาก หลวงพ่อคูณปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อแดง มานานพอสมควร หลวงพ่อแดง จึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งเป็นเพื่อนกัน ต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะมักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ กระทั่งหลวงพ่อคง เห็นว่ามีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรกๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์จาริกอยู่ในเขตจ.นครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มุ่งเข้าสู่ป่าลึกเพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณ จึงออกเดินทางจากประเทศกัมพูชา สู่ประเทศไทย ข้ามเขตด้าน จ.สุรินทร์ สู่จ.นครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่ เริ่มก่อสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา เริ่มจากพระอุโบสถ พ.ศ.2496 โดยชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก แต่การตัดไม้ในสมัยนั้นไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแล้วต้องขนย้ายอย่างยากลำบาก อาศัยโคเทียมเกวียนบ้าง แรงงานคนลากจูงบนทางที่แสนทุรกันดารบ้าง แต่ละเที่ยวจึงต้องใช้เวลา 3-4 วัน แต่หลวงพ่อก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน นอกจากสร้างพระอุโบสถแล้ว หลวงพ่อยังสร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ยังความสะดวกสบาย และความเจริญในบ้านไร่ยิ่งนัก แม้ปัจจุบันจะไม่ได้เห็นสิ่งดังกล่าว เนื่องจากหลวงพ่อได้เปลี่ยนสิ่งก่อสร้างทั้งหมด มาเป็นปูนเป็นอิฐให้สวยงามและทนทานยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หลวงพ่อคูณยังนำเงินบริจาคที่ศิษยานุศิษย์ถวายไปใช้สร้างโรงพยาบาล ช่วยเหลือด้านสาธารณสุข สาธารณกุศล ไม่เว้นแม้แต่กับเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว หลวงพ่อคูณ บอกว่า ที่ทำแบบนี้เพราะ “หลวงพ่อเป็นคนยากจนมาแต่กำเนิด จึงอยากคิดช่วยเหลือคนอื่น การนำเงินออกไปช่วยคนอื่นก็จะมีคนบริจาคเรื่อยๆ ถ้าเก็บไว้จะทำให้อาตมาตาบอด ใจก็บอดอีกด้วย จึงอยากช่วยคนอื่นอยู่เรื่อยไป วันใดไม่มีคนมาขอเงิน ก็ไม่ค่อยสบายใจ” หลวงพ่อคูณ มีชื่อเสียงด้านการสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่บวชแล้ว 7 พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคลเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ.2493 ซึ่งได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะหลวงพ่อคูณมอบวัตถุมงคลให้แก่ทุกคน แม้แต่โจรผู้ร้ายจนศิษยานุศิษย์ถามว่าอย่างนี้ไม่บาปหรือ ซึ่งหลวงพ่อคูณมักตอบว่า “ใครขอกูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่าเป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม” ค่ำคืนที่ทุ่งไหหิน ครั้งนั้น……หลวงพ่อคูณเริ่มจาริกธุดงค์ออกจากวัดถนนหักใหญ่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา มุ่งหน้าสู่จังหวัดหนองคาย เส้นทางธุดงค์ของหลวงพ่อคูณยึดเอาแนวชายดงชายเขาอันเปล่าเปลี่ยวเป็นเส้นทางโคจร จะหยุดยั้งปักกลดบำเพ็ญสมณธรรม ก็ถือเอาทำเลชัยภูมิซึ่งห่างไกลชุมชนหมู่บ้านพอสมควร หลวงพ่อคูณเดินเท้าไปเรื่อยๆ กระทั่งถึงจังหวัดหนองคาย จากนั้นก็อาศัยเรือข้ามแม่น้ำโขงไปขึ้นยังฝั่งลาว
ราชอาณาจักรลาวสมัยนั้น ความเจริญมีอยู่แค่เมืองหลวงคือนครเวียงจันทน์เท่านั้นเอง เลยจากเขตเมืองหลวงไปแล้วก็คือป่าเขาลำเนาไพรซึ่งยังเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ชาวลาวดำเนินชีวิตด้วยความเป็นอยู่เรียบง่าย ทำไร่ทำนาแค่พอกินพอใช้ไปวันๆ แต่ประชาชนซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นคนยากจนส่วนใหญ่นี้ต่างมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง หลวงพ่อคูณไม่เคยเข้าไปในประเทศลาวมาก่อน แต่ท่านไม่รู้สึกปริวิตกแม้แต่น้อย เพราะจุดหมายปลายทางของพระธุดงค์กรรมฐานนั้นคือการไปให้ถึงโมกขธรรมอันสูงสุด มิใช่เดินทางไปท่องเที่ยวแสวงหาความรื่นรมย์สนุกสนานหรือสุขสบายใดๆ ในทางโลกเส้นทางโคจรของท่านจึงมุ่งสู่ความสงบสงัดเป็นทางเอก และอาศัยบิณฑบาตเท่าที่จะผ่านไปพบเขตคามชุมขนเล็กๆ ตามรายทางเพียงเพื่อประคองสังขารให้ดำรงอยู่เท่านั้น
พรรษาแรกในแผ่นดินลาว หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ปวารณาจำพรรษาอยู่ที่ภูควาย โดยอาศัยเถื่อนถ้ำแห่งหนึ่งเป็นที่พักบำเพ็ญเพียรตลอดพรรษา โดยมีชาวบ้านป่าเชิงเขาอุปัฎฐากเรื่องอาหารขบฉัน ซึ่งท่านจะลงจากภูสูงมาบิณฑบาตที่หมู่บ้านนั้นทุกวัน แผนที่เส้นทางจาริกธุดงค์ของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธจาริกธุดงค์ในป่าลึก เมื่อหลวงพ่อคูณได้รับอนุญาตจากพระอาจารย์หลวงพ่อคง ให้ออกจาริกธุดงค์รูปเดียวได้เนื่องจากเห็นว่าพอจะเอาตัวรอดได้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจว่าเมื่อพ้นกาลเข้าพรรษาจะลองข้ามไปยังฝั่งลาวเพื่อปฏิบัติ สมณธรรมและทดสอบจิตตนเองว่าจะตั้งมั่นอยู่ด้วยความเข้มแข็งสักเพียงใด
ครั้นถึงกาลออกพรรษาในปีนั้น หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จึงนมัสการกราบลาพระอาจารย์หลวงพ่อคง ออกจากวัดถนนหักใหญ่เพียงรูปเดียวโดยมีอัฐบริขารอันจำเป็นสำหรับพระธุดงค์กรรมฐานมุ่งหน้าสู่จังหวัดหนองคาย ซึ่งอยู่ติดชายแดนไทยลาวโดยมีแม่น้ำโขงขวางกั้นเท่านั้น
จากจังหวัดนครราชสีมา หลวงพ่อคูณเดินเท้าไปเรื่อยๆ กระทั่งบรรลุสู่จังหวัดหนองคาย แล้วขออาศัยเรือข้ามแม่น้ำโขงไปขึ้นยังฝั่งลาว จากนั้นก็จาริกต่อไป ผ่านทุ่งไหหินตราบถึงภูเขาสูงตระหง่านชื่อ ภูควาย และได้จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำบนภูควายตลอดพรรษานั้น เมื่อออกพรรษาแล้วท่านจึงลงจากภูควายมุ่งหน้าไปยังนครเวียงจันทน์และได้พักอยู่ที่วัดหนึ่งในนครเวียงจันทน์เป็นเวลานานถึงหนึ่งพรรษา
จากนครเวียงจันทน์ หลวงพ่อคูณได้จาริกต่อไปที่เมืองหลวงพระบาง เมื่อถึงหลวงพระบางแล้วก็เป็นเวลาใกล้เข้าพรรษา ท่านจึงจำพรรษาที่หลวงพระบางอีกหนึ่งพรรษา ตราบกระทั่งออกพรรษา หลวงพ่อคูณก็มุ่งหน้าไปยังถ้ำผาเลน และได้จำพรรษาต่อมาที่ถ้ำนี้
ออกพรรษาแล้วปีนั้น หลวงพ่อคูณจาริกธุดงค์มายังเมืองสีทันดร หรือ “สี่พันดอน” เหตุที่มีชื่อเช่นนี้เนื่องจากตั้งแต่หลวงพระบางไปจนถึงเมืองสีทันดร มีที่ดอนเรียงรายกันไปถึง 4,000 แห่ง ดอนแต่ละแห่งมีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ เช่น ดอนตาดโพธิ ดอนช้างเผือก ดอนลาน ดอนเดช ดอนสะดำ ดอนขาม ดอนพระเพ็ง ฯลฯ
ที่ดอนพระเพ็งแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของ แก่งลี่ผี ซึ่งเป็นแก่งมหึมาและมีน้ำตกสวยงามมาก คำว่า “ลี่” เป็นภาษาลาวหมายถึง เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง “หลี่ผี” ก็คือ เครื่องมือดักจับปลาของภูตผี ซึ่งนัยอันแท้จริงนั้นน่าจะหมายถึงเครื่องมือดักจับชีวิตคนมากกว่า เพราะที่แก่งนี้ได้กลืนกินชีวิตผู้คนไปมากมายตั้งแต่โบราณ ใครที่ไม่รู้ความร้ายกาจของกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากบังอาจล่องเรือหมายจะผ่านแก่งนี้ให้ได้ ผลสุดท้ายก็คือเรือแตกกระจายเป็นเสี่ยงๆ ผู้อยู่ในเรือต้องเอาชีวิตมาสังเวยแก่งลี่ผีหมดทุกคน
ขณะที่แก่งลี่ผีเป็นที่หวั่นเกรงของชาวเรือ แต่ ณ ที่เดียวกันกลับเป็นสถานสัปปายะอันรื่นรมย์ของพระธุดงค์กรรมฐานซึ่งจะมาบำเพ็ญธรรมกระทำความเพียรเสมอ พระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงกิตติคุณของไทยซึ่งเป็น พระสายปฏิบัติแทบทุกรูปที่จาริกธุดงค์มายังลาว มักจะมากระทำความเพียรที่แก่งลี่ผีนี้
หลวงพ่อคูณ ได้มาปักกลดเจริญภาวนาอยู่ที่แก่งลี่ผีนี้เช่นกัน และหยุดยั้งอยู่นานพอสมควรก่อนจะจาริกกลับประเทศไทยทางด้านจังหวัดสุรินทร์
ออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อคูณจึงลงจากภูควาย จาริกธุดงค์ต่อไปโดยมุ่งหน้าไปทางทุ่งไหหิน เมื่อไปถึงทุ่งไหหินได้หยุดยั้งปักกลดลง ณ ที่นี้
ตลอดอาณาบริเวณของทุ่งไหหินเป็นที่ราบกว้างไกลสุดสายตา คล้ายกับว่าเป็นทำเลที่ตั้งเมืองเก่าโบราณซึ่งได้ล่มสลายสูญหายไปหมดสิ้น ไม่เหลือให้เห็นแม้แต่ซากปรักหักพัง คงมีแต่สิ่งอัศจรรย์ทิ้งเอาไว้กลาดเกลื่อนไปตลอดที่ราบของท้องทุ่งนั่นคือ “ไหหิน” ทุ่งไหหิน ประเทศลาว ไหหินเหล่านี้เป็นแท่งหินทรงกลม ตรงกลางกลวงเว้าลึกลงไป แต่ไม่ทะลุออกไปอีกด้านหนึ่ง หินแต่ละแท่งมีลักษณะคล้ายไหหนึ่งข้าวของชาวลาวทั่วไป ไหหินซึ่งวางกระจายกลาดเกลื่อนมีหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ บางไหใหญ่ขนาดหลายคนโอบ และมีน้ำหนักเป็นตันๆ ไม่มีตำนานหรือประวัติบอกกล่าวเล่าถึงที่มาของไหหินเหล่านี้อย่างชัดเจน จึงทำให้ไม่รู้ว่าเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหรือถูกสร้างขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ และถ้าเป็นไหหินซึ่งมนุษย์ทำขึ้นมา พวกเขามีจุดประสงค์ทำขึ้นมาเพื่ออะไรและทำไมถึงได้มีมากมายนับร้อยๆ ไหเช่นนั้น เมื่อหลวงพ่อคูณมาถึงทุ่งไหหินเป็นครั้งแรกนั้น เป็นเวลาโพล้เพล้มากแล้ว ท่านจึงปักกลดใกล้ๆ กับพลาญหินราบเรียบส่วนหนึ่งของพลาญหินเป็นโขดหินชะเงื้อมสูงพอสมควร พอได้อาศัยเป็นที่บังลมอย่างดี เนื่องจากกระแสลมซึ่งพัดผ่านทุ่งไหหินแห่งนี้ออกจะรุนแรงเอาการอยู่
หลังจากสวดมนต์ทำวัตรแล้ว หลวงพ่อคูณก็เข้าที่ภาวนาภายในกลด คืนนั้นแม้จะเป็นคืนแรม แต่แสงดาวซึ่งพราวเต็มท้องฟ้าก็ช่วยบรรเทาความมืดไปได้หลายส่วน ทั่วท้องทุ่งซึ่งมีชื่อว่า “ทุ่งไหหิน” แห่งนี้ดูอ้างว้างและเปล่าเปลี่ยวน่าพรั่งพรึงอย่างยากที่จะอธิบายได้ถูกถ้วน ทว่าหลวงพ่อคูณมิได้ใส่ใจต่อความสงัดวังเวงซึ่งครอบคลุมไปทั่วอาณาบริเวณ หากเพ่งไปที่จิตเพื่อรวมเป็นสนามสู่กรรมฐานตามลำดับ
แต่สำหรับคืนนี้ จิตของหลวงพ่อคูณดูเหมือนจะกระสับกระส่ายคล้ายกับไม่ยอมให้สติควบคุมง่ายๆ แต่หลวงพ่อก็ไม่ยอมให้จิตมันแส่ส่ายนำไปสู่ภายนอกได้
และในวาระนั้น……….หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ก็ได้เผชิญกับความอัศจรรย์ ณ ทุ่งไหหิน จู่ๆ ก็มีเสียงอื้ออึงคล้ายพายุกล้ากำลังเคลื่อนใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ยิ่งใกล้เข้ามาเสียงอื้ออึงก็ยิ่งชัดเจนขึ้น ประหนึ่งกระแสลมอันบ้าคลั่งจะกวาดเอาสรรพสิ่งในท้องทุ่งไหหินให้ปลิวหายไปจนหมดสิ้น
แต่เมื่อเสียงนั้นเคลื่อนมาจะถึงกลดของหลวงพ่อคูณ เสียงของกระแสลมกลับกลายเป็นเสียงโห่ร้องอึงคนึงของคนนับพันนับหมื่นประหนึ่งมีกองทัพกำลังเคลื่อนขบวนยาตราตรงเข้ามา
หากผู้ซึ่งเผชิญกับปรากฎการณ์อันชวนให้ขนพองสยองเกล้าดังที่ปรากฎ ขาดสติหรือมีกำลังจิตหวั่นไหวอ่อนแอ อาจจะเกิดความหวาดหวั่นพรั่นพรึงถึงขั้นวิปลาสไปก็ได้ แต่สำหรับหลวงพ่อคูณนั้นท่านเคยผ่านประสบการณ์ความกลัวมาหนักหนาสาหัสยิ่งกว่านี้ เรียกว่าเคยกลัวจนถึงขีดสุด กระทั่งไม่รู้จักความกลัวใดๆ ทั้งสิ้นเสียแล้ว……..เพียงแค่เสียงมากระทบหูเท่านี้จึงไม่ทำให้ท่านเกิดความหวั่นไหวได้ จากเสียงโห่ร้องอึงอลบอกบ่งถึงความดุร้ายกระหายเลือดก็พลันเปลี่ยนไป กลายเป็นเสียงร่ำไห้คร่ำครวญของผู้ซึ่งกำลังตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ทรมานเหลือจะกล่าว และเสียงเช่นนี้ได้โหยหวยระงมไปทั่วท้องทุ่ง
หลวงพ่อคูณกล่าวในภายหลังว่า ณ ทุ่งไหหินแห่งนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ท่านไม่เคยคิดว่าจะได้ยินก็ได้ยิน ไม่เคยคิดว่าจะเห็นก็ได้เห็น ทุ่งไหหินมีอดีตซับซ้อนทับถมกันอยู่จนยากจะแยกแยะออกมาได้ว่าเป็นยุคใดสมัยใด แต่ที่แน่นอนก็คือ ณ ที่ราบของท้องทุ่งแห่งนี้ เป็นที่สถิตย์ของดวงวิญญาณสัมภเวสีนับไม่ถ้วยซึ่งไม่มีที่จะไป ได้แต่เร่ร่อนวนเวียนอยู่ด้วยบุรพกรรมของตัวเองอย่างน่าเวทนา หลวงพ่อคูณกระทำได้ก็แต่เพียงสำรวมจิตเข้าสู่กุศลแล้วแผ่เมตตาออกไปไม่มีประมาณ เพื่อชี้ทางสู่สุคติแก่วิญญาณทรมานทั้งหลายเหล่านั้น คืนนั้นผ่านไป เมื่อได้อรุณแล้วหลวงพ่อคูณก็ออกบิณฑบาตไปยังหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งอยู่ไกลลิบ พวกชาวบ้านซึ่งเป็นคนป่าคอยดูเหมือนจะไม่คุ้นหรือไม่มีศรัทธาในการทำบุญใส่บาตร เหตุนี้หลวงพ่อคูณจึงได้เพียงข้าวเหนียวมาปั้นเดียว ไม่มีกับข้าวคาวหวานใดๆ ทั้งสิ้น แต่ท่านก็มิได้อนาทรร้อนใจ ได้อะไรก็ฉันเท่านั้น เพราะฉันเพียงเพื่อเลี้ยงดูสังขารให้มันแค่ดำรงอยู่ มิใช่ฉันเพราะต้องการความเอร็ดอร่อยแต่อย่างใด หลวงพ่อคูณหยุดยั้งอยู่ที่ทุ่งไหหินเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพราะเห็นว่าไม่เป็นที่สัปปายะสมควรแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ประกอบกับผู้คนจำนวนน้อยซึ่งอยู่อาศัยในเขตชายทุ่งไหหินเป็นชาวป่าชาวเขาที่ค่อนไปทางป่าเถื่อน ไม่นับถือพระไม่นับถือพุทธ ทางเลื่อมใสบูชาลัทธิผีบรรพบุรุษ มีเจ้าป่าเจ้าเขา หลวงพ่อคูณจึงได้เก็บบริขารออกจากทุ่งไหหิน ธุดงค์รอนแรมต่อไปโดยบ่ายหน้าสู่ทิศที่ตั้งของนครเวียงจันทน์ ในพรรษานั้น หลวงพ่อคูณจำพรรษาอยู่ที่วัดหนึ่งในนครเวียงจันทน์ หลังออกพรรษาแล้ว………หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้อำลาเจ้าอาวาสผู้มีเมตตาอารีออกเดินธุดงค์ต่อไปอีก และยังไม่คิดกลับเมืองไทย เนื่องจากพอใจในสภาพโดยทั่วไปของแผ่นดินลาวซึ่งอุดมไปด้วยป่าเขาอันรื่นรมย์ เหมาะสมต่อการบำเพ็ญสมณธรรมขจัดกิเลสให้เบาบางไปจนถึงสูญสิ้นในที่สุด
ผีมาใส่บาตร หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ หลวงพ่อคูณจาริกธุดงค์ไปเรื่อยๆ หากพบหมู่บ้านก็พอได้อาศัยโคจรบิณฑบาต หากไม่พบพานชุมชนคนอาศัยก็เท่ากับอดอาหารงดฉันไปโดยปริยาย แต่มิได้ทำให้เดือดร้อนวุ่นวายอะไรนัก เพราะจิตใจนั้นอิ่มเอิบเบิกบานอยู่ด้วยธรรมตลอดเวลา จากเวียงจันทน์ หลวงพ่อคูณจาริกไปจนถึงเมืองหลวงพระบางและได้จำพรรษาที่หลวงพระบางอีกหนึ่งพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วก็ออกธุดงค์จากทางเหนือล่องลงมาทางใต้ของประเทศ กระทั่งเข้าเขตเมืองผาเลน ห่างจากเมืองผาเลนไปไม่ไกลนัก มีทิวเขาโอบล้อมทอดตัวสลับซับซ้อนอยู่ด้านหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อคูณจาริกผ่านเชิงเขาขนาดย่อมก็พบถ้ำแห่งหนึ่งดูร่มรื่นสงัดเงียบเป็นที่น่าพอใจ ไม่ไกลจากถ้ำมีธารน้ำไหลใสสะอาด พออาศัยใช้เป็นน้ำสรง น้ำดื่มได้สะดวก และที่ตีนเขามีหมู่บ้านหลายหลังคาเรือน ชาวบ้านเหล่านั้นก็แสดงความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อชาวบ้านเห็นหลวงพ่อคูณมาปักกลดบำเพ็ญธรรมอยู่ที่ถ้ำผาเลน ก็พากันปีนป่ายไต่เขาขึ้นมานมัสการท่านถึงในถ้ำ แล้วนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่ถ้ำนี้นานๆ เพื่อที่พวกตนจะได้มีโอกาสทำบุญใส่บาตรสร้างกุศลกันบ้าง เพราะไม่มีพระสงฆ์องค์เจ้าผ่านมานานแล้ว หลวงพ่อคูณก็รับนิมนต์ ทำให้ชาวบ้านพากันปีติยินดีกันทั่วหน้า และกล่าวย้ำแก่ท่านว่าอย่าได้วิตกกังวลเรื่องภัตตาหาร พวกเขาจะเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรทุกๆ เช้ามิให้ขาด
คืนนั้น…….หลวงพ่อคูณเข้าไปอาศัยถ้ำใหญ่แห่งนั้นเป็นที่บำเพ็ญเพียรด้วยความรู้สึกปลอดโปร่งเป็นที่น่าพอใจ เพราะอากาศภายในถ้ำไม่อับชื้น มีกระแสลมไหลผ่านวนเวียนตลอดเวลา ตราบกระทั่งถึงเวลาได้อรุณ…..ขอบฟ้าเริ่มเรืองแสงจางๆ หลวงพ่อคูณจึงเตรียมตัวออกบิณฑบาต แต่อากาศขณะนั้นยังขมุกขมัวมืดมัวไปทั่ว ประกอบกับภูมิอากาศบนภูเขามีหมอกลงจัดทำให้มองออกไปไกลๆ ไม่ได้เลย หลวงพ่อคูณสะพายบาตรเรียบร้อยก็ออกจากบริเวณหน้าถ้ำเดินลงมาตามทางเล็กๆ ซึ่งคดเคี้ยวและลาดชัน มาจนถึงทางแยกลงทางที่ทอดลงไปยังหมู่บ้านตีนเขา จึงตัดสินใจไปทางซ้าย เส้นทางสายนี้อ้อมภูเขาลาดลงไปไม่ชันนัก แต่ทางเดินออกจะรกเรื้อด้วยหญ้าและวัชพืชคลุมหน้าดินค่อนข้างหน้า เดินตามทางไปสักครู่ใหญ่ความสว่างได้เพิ่มขึ้นและหมอกก็จางลง หลวงพ่อคูณเพิ่งสังเกตเห็นว่าทางที่ท่านเดินผ่านไปนั้นกว้างขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งไปบรรจบที่ราบกว้าง มีเงาตะคุ่มของกองอิฐเก่าๆ ซึ่งทะลายลงมาระเกะระกะ และมีซากกำแพงปรักหักพังเป็นส่วนๆ อยู่ในบริเวณนั้น หลวงพ่อคูณรู้สึกแปลกใจเหมือนกันที่เห็นภูมิประเทศออกจะพิกลอยู่ ท่านจำได้ว่าตอนที่เดินผ่านหมู่บ้านก่อนจะขึ้นภูเขามาถึงถ้ำไม่เคยเห็นกองอิฐกองหินหรือซากกำแพงแม้แต่น้อย แต่เหตุใดเช้าวันนี้จึงได้มีสภาพผันแปรเปลี่ยนไปผิดตามากเหลือเกิน หรือว่าท่านอาจจะมาผิดทาง เลยเดินเข้าหมู่บ้านด้านซึ่งไม่เคยผ่านมาก่อน
แล้วความคิดซึ่งไม่แน่ใจว่ามาผิดทางก็พลันหมดไป เมื่อแลไปข้างหน้าชาวบ้านทั้งหญิงชายหลายคนยืนถือขันข้าวและถาดใส่อาหารรอคอยใส่บาตรอย่างเงียบๆ อยู่ข้างทางเดิน หลวงพ่อคูณจึงเดินเข้าไปด้วยกริยาอันสำรวม สายตาทอดต่ำเพียงมองเห็นเลยไปแค่ 3 – 4 ก้าว
หลวงพ่อคูณเปิดฝาบาตร รับข้าวและกับข้าวซึ่งห่อด้วยใบตองเป็นห่อเล็กๆ ไปจนสุดแถว แล้วท่านก็เดินกลับโดยอาการอันสงบเช่นเดิน ขณะที่เดินย้อนกลับขึ้นเขาหลวงพ่อคูณยังมีข้อสะกิดใจสงสัยอยู่อีกประกากรหนึ่งก็คือ ทำไมชาวบ้านที่นำอาหารมาใส่บาตรจึงเงียบเชียบกันเหลือเกิน
ตลอดเวลาที่ท่านเดินผ่าน ไม่มีใครสนทนาพูดคุยกันเลย ทุกคนไม่ว่าจะใส่บาตรแล้วหรือกำลังรอใส่บาตรต่างก็ยืนนิ่งทื่อๆ ยืนอยู่ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนย้ายหรือเดินไปเดินมาตามประสาคนทั่วไป ไม่มีการทักทายหรือพูดคุยซึ่งกันและกัน ซึ่งออกจะผิดวิสัยธรรมชาติของสังคมคนหมู่มากทำให้บรรยากาศดูสงัดวังเวงบอกไม่ถูก หลวงพ่อคูณครุ่นคิดเพียงเท่านี้ก็เลิกใส่ใจ ด้วยเห็นว่าไร้ประโยชน์ไร้สาระที่จะนำมาเป็นกังวล ท่านเดินมาตามเส้นทางเดิมซึ่งทอดอ้อมเขาขึ้นมาจนถึงถ้ำ หลังจากฉันเรียบร้อยแล้วหลวงพ่อคูณได้นำบาตรไปชำระล้างที่ลำธาร เศษข้าวเศษอาหารซึ่งเหลือจากฉันได้นำมากองไว้บนก้อนหินเพื่อให้ทานแก่สัตว์ตัวเล็กๆ อีกต่อหนึ่ง แล้วหลวงพ่อก็นำบาตรกลับมาผึ่งแดดที่หน้าถ้ำ จากนั้นท่านจึงเข้าที่ปฏิบัติทางจิตนั่งสมาธิสลับกับการเดินจงกรม กระทั่งครบกำหนดเวลาในตอนเย็นหลวงพ่อคูณก็ไปสรงน้ำที่ลำธาร คราวนี้ท่านรู้สึกแปลกใจที่เห็นเศษข้าวเศษอาหารซึ่งท่านวางกองไว้บนก้อนหินมิได้พร่องไปเลย แสดงว่าไม่มีสัตว์เล็กๆ เข้ามากินแม้แต่ตัวเดียว ซึ่งเรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องแปลกเอาการ เพราะตลอดระยะเวลาที่ท่านเดินธุดงค์ หากมีเศษข้าวเศษอาหารเหลือจากฉันแล้วท่านวางกองทิ้งไว้ สัตว์เล็กๆ จะเข้ามากินจนหมดเกลี้ยงไม่มีเหลือทุกครั้ง แต่สำหรับครั้งนี้ แม้แต่มดตัวเล็กๆ ก็ยังไม่มาตอมเสียด้วยซ้ำ เช้าวันต่อมา………..ก่อนออกไปบิณฑบาต หลวงพ่อคูณแวะไปดูกองเศษข้าวและเศษอาหารเพราะกลัวจะบูดเน่า ปรากฎว่าหายไปหมดเกลี้ยงไม่มีเหลือเศษเล็กเศษน้อยตกค้างเอาไว้เลย เมื่อเข้าไปพิจารณาดูใกล้ๆ ยิ่งน่าแปลกหนักเข้าไปอีก เพราะถ้าหากมีสัตว์มากินเศษอาหารจะต้องทิ้งร่องรอยเอาไว้ แต่เท่าที่หลวงพ่อคูณเห็นขณะนั้น บนก้อนหินเกลี้ยงเกลาประหนึ่งไม่เคยวางเศษอาหารใดๆ เอาไว้เลย ดุจ….เศษอาหารทั้งหมดหายวับไปเฉยๆ หลวงพ่อคูณปฏิบัติสมณธรรมอยู่ที่ถ้ำผาเลนได้ 3 – 4 วัน ชาวบ้านตีนเขาหลายคนก็ขึ้นมาหาหลวงพ่อถึงที่ถ้ำด้วยความเป็นห่วง เพราะตั้งแต่ท่านมาอยู่ถ้ำผาเลนไม่เคยลงไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านเลยทั้งๆ ที่รับนิมนต์พวกเขาไว้แล้ว หลวงพ่อคูณบอกว่าได้ลงเขาไปบิณฑบาตทุกเช้าไม่ได้เว้นแม้แต่วันเดียว ทำไมชาวบ้านจึงกล่าวหาว่าท่านไม่ไปบิณฑบาตล่ะ ชาวบ้านก็พากันงุนงงสงสัย เพราะทั่วทั้งหมูบ้านไม่มีใครเห็นหลวงพ่อ อีกทั้งข้าวปลาอาหารซึ่งทำเตรียมไว้เพื่อใส่บาตรก็ค้างเก้อมาทุกวัน จะว่าหลวงพ่อคูณหลงทางไปบิณฑบาตหมู่บ้านอื่นก็เป็นไปไม่ได้ เพราะตลอดระแวดนี้ไม่มีหมู่บ้านอื่นใดอีกมีแต่ป่าเขาและดงไม้ไปตลอด ชาวบ้านสอบถามหลวงพ่อคูณว่าท่านลงจากเขาไปทางทิศไหน หลวงพ่ออธิบายว่าออกจากถ้ำแล้วก็ไปตามทางเดินลงเขา พอถึงทางแยกก็เลี้ยวซ้ายเป็นทางอ้อมภูเขาไป ชาวบ้านพอรู้ว่าหลวงพ่อคูณไปทางไหน พวกเขาก็พูดแทบจะพร้อมๆ กันว่า “หลวงพ่อไปบิณฑบาตกับผีเสียแล้ว” จากนั้นจึงได้อธิบายต่อไปว่าเส้นทางที่จะลงจากเขาไปสู่หมู่บ้านนั้นต้องแยกเข้าทางเดินขวามือ หากเลี้ยวซ้ายซึ่งเป็นทางเดินเก่าๆ อ้อมภูเขาไปนั้นคือทางไปเมืองร้างมาแต่โบราณกาล ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยแม้แต่คนเดียว ชาวบ้านตีนเขายังไม่กล้าล่วงล้ำเข้าไปในเขตเมืองร้างแห่งนั้น เพราะเคยมีคนไปเจอภูตผีปิศาจน่าหวาดหวั่นพรั่นพรึงที่เมืองร้างมาแล้ว หลวงพ่อคูณรับฟังเรื่องซึ่งท่านไม่เคยคาดคิดมาก่อนเมื่อพวกชาวบ้านเล่าความจนหมดสิ้นท่านก็ได้แต่หัวเราะหึๆ บอกแก่ทุกคนว่า “เป็นบุญของผีเมืองร้างที่ได้ใส่บาตรพระ ซ้ำยังช่วยต่อชีวิตพระไปได้อีกหลายมื้อ จะว่าไปแล้วข้าวปลาอาหารของผีนี่มันก็แซ่บหลายอยู่……” เช้าวันรุ่งขึ้น……….หลวงพ่อคูณก็ออกบิณฑบาตตามกิจของท่าน เมื่อลงจากเขามาถึงทางแยกซ้ายขวา ท่านตัดสินใจเดินไปทางซ้าย ซึ่งเป็นเส้นทางไปบรรจบกับเมืองร้าง เมื่อเข้าสู่เขตเมืองร้างแล้ว คราวนี้ท่านมองไม่เห็นมีใครมารอคอยใส่บาตรเช่นทุกเช้าที่ผ่านมา ที่เห็นอยู่เบื้องหน้าท่ามกลางสายหมอกหม่นมัว คือซากปรักพังของเมืองโบราณซึ่งล่มสลายไปหมดสิ้น ความรุ่งเรืองของศิลปวัตถุทั้งหลายเหลือเพียงแต่เศษอิฐหินที่รอคอยการผุพังกลายเป็นธุลีดินไปในที่สุด หลวงพ่อคูณสงบจิตจนแนบสนิทอยู่กับกุศลซึ่งท่านได้สั่งสมมา แล้วแผ่เมตตาออกไปยังวิญญาณทั้งหลายที่ยังวนเวียนอยู่ในอาณาบริเวณเมืองร้างแห่งนี้ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นได้พบกับทางไปสู่สุคติที่ดีกว่า………. จากนั้น……หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ก็เดินกลับย้อนไปตามทางเดิม เมื่อถึงทางแยกท่านก็เลี้ยวไปตามทางลงเขาทอดไปสู่หมู่บ้านตีนเขา ซึ่งชาวบ้านกำลังเตรียมอาหารรอคอยใส่บาตรอยู่ อ่านแล้วท่านทั้งหลายมีความรู้สึกอย่างไร ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในโลกนี้จะมีสิ่งเร้นลับอยู่ปะปนกับพวกเรา เพียงแต่ว่าอยู่คนละภพเท่านั้น นี่คือประสบการณ์เผชิญวิญญาณบนเส้นทางธุดงค์ครั้งหนึ่งของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ หรือท่านเจ้าคุณพระเทพวิทยาคม แห่งวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุดทด จังหวัดนครราชสีมา……
วัตถุมงคลหลวงพ่อคูณ เหรียญหลวงพ่อคูณ แต่ละรุ่นเป็นที่นิยมของนักสะสม และเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์เป็นอย่างมาก หลายรุ่นมีราคาแพงมาก โดยเฉพาะเหรียญหลวงพ่อคูณรุ่นแรก แต่การเช่าหาพระหลวงพ่อคูณต้องระมัดระวังในกรณีที่พระราคาสูง ส่วนเครื่องรางของขลังที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปถึงต่างประเทศ คือ “ตะกรุดทองคำ” ซึ่งเป็นตะกรุดทองคำฝังแขน มีข้อห้าม 2 ข้อ คือ 1.ห้ามด่าแม่ 2.ห้ามผิดลูกเมียผู้อื่น หลวงพ่อคูณ เคยสั่งว่า เมื่อมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อติดตัวให้ภาวนา “พุทโธ” ทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ละเว้นถ้อยคำด่าทอ ด่าพ่อแม่ตน และพ่อแม่บุคคลอื่น และอย่าผิดสามี หรือภรรยาผู้อื่น ให้สวดมนต์ก่อนเข้านอนทุกคืน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และยังย้ำว่า “ถ้ามีใจอยู่กับพุทโธ ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปที่ไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก” เวลานั่งสมาธิหายใจเข้า ให้บริกรรมว่า “ตาย” หายใจออก ให้บริกรรมว่า “แน่” เป็น ตายแน่…ตายแน่…ตายแน่ไปเรื่อยๆ จะรู้สึกสบาย จิตสงบ ซึ่งคำสอนนี้น่าจะเป็นเพราะหลวงพ่อคง พุทธสโร เคยสอนให้ใช้หมวดอนุสติโดยดึงเอาวิธีกำหนดความตายเป็นอารมณ์ เรียกว่า “มรณัสสติ” เพื่อให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงในในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ประมาทในความโลภ ความโกรธ และความหลง กำหนดลมหายใจเข้าออกทำจิตให้เกิด สัมมาสมาธิ เรียกว่า “อานาปานสติ” นอกจากวัตถุมงคลแล้ว หลวงพ่อคูณ ยังมีเอกลักษณ์ประจำตัว คือ ท่านั่งยอง ซึ่งหลวงพ่อคูณให้เหตุผลว่า เป็นท่าที่สบายที่สุด อีกทั้งเป็นลักษณะของคนเตรียมพร้อมที่ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ทันที จะหยิบจับอะไรก็ง่าย และสะดวกในการทำงาน หลวงพ่อคูณ มักถูกมองว่าเป็นพระที่เก่งกล้าอาคม แต่หากได้พบ และได้สนทนาธรรม จะทราบทันทีว่า คือ “ปราชญ์แห่งที่ราบสูง” สนทนาธรรมแบบไปตรงมา พูดจา “มึง-กู” แต่แท้จริงหลวงพ่อคูณ เป็นพระที่เป็นพระจริงๆ คือ มีจิตเมตตาเป็นที่ตั้ง แม้ในยามที่วัดบ้านไร่มีปัญหา หรือมีความขัดแย้งระหว่างลูกศิษย์ หลวงพ่อคูณ ตัดสินใจเดินจากวัดบ้านไร่ไปอย่างเงียบๆ พร้อมปรัญชาที่ว่า “เป็นธรรมดา เปรียบเสมือนต้นไม้หากมีลูกไม้ ย่อมจะเป็นที่จิกกินของสัตว์ หรือนก แม้ กระทั่งคนหากแม้นเมื่อหมดลูกหมดผล ก็หมดการแก่งแย่ง แต่อีกไม่นานต้นไม้นั้นก็จะออกลูกออกผลมาให้ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป” ไม่เคยมีใครเคยเห็นหลวงพ่อคูณ กราดเกรี้ยว หรือทุกขเวทนาต่อเหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกิดขึ้นภายในวัด ทั้งที่วัดมีรายได้มากมายจากประชาชนที่ศรัทธาในบารมีของหลวงพ่อคูณ แสดงให้เห็นว่ามีจิตที่แจ่มใส หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส เป็นที่พึ่งทางธรรมอย่างแท้จริง หลวงพ่อคูณ ถูกนิมนต์ไปทั่วประเทศ ทั้งทางรถ ทางเรือ เฮลิคอปเตอร์ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว อาคาร ห้างร้าน จึงเต็มไปด้วยสารพัดเหรียญหลวงพ่อ รูปหลวงพ่อนั่งยองๆ สูบยา สร้างความความมั่งคั่งร่ำรวยให้แก่ผู้ขอนุญาตสร้างเหรียญออกสู่ตลาด เงินสะพัดจนธนาคารส่งพนักงานมาบริการให้ถึงที่วัด ทานบารมีของหลวงพ่อคูณ ปรากฏชัดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2535 พร้อมกับเรื่องเล่าขานที่กลายเป็นตำนานของหลวงพ่อ เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ เททองหล่อพระประธานวัดบ้านไร่ มีเรื่องเล่าขานกันว่า ก่อนถึงเสด็จฯ ข้าราชการหลายคนเข้ามาแนะนำการใช้คำราชาศัพย์ง่ายๆ ให้หลวงพ่อคูณ พร้อมกำชับว่าให้ระมัดระวังภาษาที่หลวงพ่อใช้อยู่ประจำ เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ และจนพิธีแล้ว ได้เสด็จฯ โดยมีหลวงพ่อคูณ และผู้ว่าราชการจังหวัด เดินตามมา หลวงพ่อคูณดูมีท่าทางอึดอัดจนผิดปกติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตรัสถามก็มีแต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คอยถวายคำอธิบายอยู่เช่นนั้น จนพระองค์ตรัสถามว่า “ทำไมหลวงพ่อไม่พูดกับหนูล่ะคะ” คำตอบสั้นๆ ของหลวงพ่อคูณ ที่ทำให้ข้าราชการแทบจะเป็นลมล้มลงกับพื้น คือ “ก็ไอ้นี่มันไม่ให้กูพูดกับมึง” พร้อมชี้นิ้วไปที่ที่นายอำเภอด่านขุนทด และเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มายังวัดบ้านไร่ เพื่อทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่บุษบกเหนือพระอุโบสถวัดบ้านไร่ ครั้งนี้มีการจัดสร้างพระยอดธงรุ่นแรก หรือรุ่นทูลเกล้าฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่า ชาวด่านขุนทด มีปัญหาขาดแคลนน้ำทุกปีในช่วงหน้าแล้ง จึงมีพระราชดำริ และพระราชทานเงินให้กรมชลประทาน จัดทำโครงการพัฒนาลำน้ำสาขาห้วยสามบาท อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ ซึ่งหลวงพ่อคูณคูณ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน 72 ล้านบาทโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย หลวงพ่อคูณ กล่าวต่อศิษยานุศิษย์ว่า “กูรู้สึกดีใจอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ บุญทานอื่นทำมามาก แต่ทำบุญกับพระเจ้าอยู่หัว ยังไม่ได้ทำ ภูมิใจมหาศาล เงินที่ลูกหลานบริจาคทีละเล็กละน้อยสะสมรวมไว้เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย พี่น้องจะได้รับอานิสงส์ด้วย พี่น้องรู้ว่าทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าอยู่หัว ก็ดีใจมาก ชาวต่างประเทศก็มากันมาก จีนก็มา เกาหลีก็มา อินเดียก็มา ทำแล้วแต่กำลัง คนละสิบบาท ยี่สิบบาท มากันทุกวัน ยิ่งถ้ามาช่วยกันแล้วก็ไม่ได้มาหาสิ่งตอบแทนอะไร เขามาด้วยศรัทธากันจริงๆ” มีเรื่องเล่าว่า ก่อนหน้าที่จะมีงานใหญ่ ลูกศิษย์ต่างเป็นห่วงกลัวว่าหลวงพ่อคูณจะพูดราชาศัพท์ไม่ได้ ซึ่งหลวงพ่อบอกว่า “จะไปยากอะไร ก็พูดว่าขอถวายพระพรมหาบพิตร หรือไม่ก็ถวายพระพรคุณโยม ท่านสบายดีหรือ ท่านคงจะไม่ถือ เพราะท่านเป็นจอมปราชญ์ พูดอย่างไรกับท่าน ท่านก็ย่อมรู้ดี” ลูกศิษย์เลยถามหลวงพ่อว่า “ในหลวง” ทรงตรัสอะไรกับหลวงพ่อบ้าง หลวงพ่อคูณตอบมาว่า “มึงรู้ไหม มือพระองค์เป็นมือคนทำงานอย่างก๊ะชาวไร่ชาวนา แข็งกระด้างมากๆ” เมื่อถูกถามอีกว่า หลวงพ่อใช้คำเรียกพระองค์ว่าอะไร หลวงพ่อก็ตอบว่า พระองค์ตรัสประโยคแรกว่า “หลวงพ่อครับ พูดตามปกตินะครับ ผมเป็นคนไทย” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และทรงทอดพระเนตรภายในพิพิธภัณฑ์ซึ่งจัดแสดงประวัติของหลวงพ่อคูณไว้อย่างละเอียด เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2552 ล่วงเข้าวันที่ 4 ตุลาคม 2550 คณะศิษยานุศิษย์จัดสร้าง “พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ” เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความศรัทธา และบารมีทานอันยิ่งใหญ่ของหลวงพ่อ เนื่องในโอกาสอายุครบ 86 ปี การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยเมื่อปี 2552 และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2552 เวลา 14.45 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ล่าสุด วันที่ 4 ตุลาคม 2556 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ้าไตร น้ำสรง และพุ่มดอกบัวถวายแด่หลวงพ่อคูณ เนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 90 ปี และวันที่ 3 ตุลาคม 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานน้ำสรง และกระเช้าดอกไม้สด แด่หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 91 ปี ซึ่งทั้ง 2 โอกาสอันเป็นมงคลนี้ หลวงพ่อคูณ อาพาธหนัก เข้า-ออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น แต่ก็ยังมีศิษยานุศิษย์ไปกราบนมัสการกันไม่เว้นวัน จนวันสุดท้ายที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วันที่ 12 สิงหาคม 2535 หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระญาณวิทยาคมเถร วันที่ 10 มิถุนายน 2539 หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชวิทยาคม วันที่ 12 สิงหาคม 2547 หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระเทพวิทยาคม “กูให้มึง...” คือ คำคมที่หลวงพ่อคูณ หรือเทพเจ้าแห่งที่ราบสูง มักชอบบอกกับลูกหลานที่มาขอพึ่งใบบุญ แต่ยังมีคำสอนทิ้งไว้ให้ลูกหลานอีกมากมาย เช่น “ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมดมันยิ่งได้” “กูไม่เคยยินดียินร้ายในลาภยศสรรเสริญ” “กูดีใจที่เกิดมาเป็นคนจน เพราะได้สร้างทานบารมี ถ้ากูเกิดมาเป็นคนรวยป่านนี้คำว่าบุญก็ไม่รู้จักกัน” “เงินเป็นทาสกู กูไม่ยอมเป็นทาสเงิน” “เกิดมาแล้ว...รักความสงบ ให้มีศีลธรรมไว้ประจำใจทุกๆ คน โลกจะได้อยู่ชุ่มกินเย็น” “คนเรา เมื่อมีเมตตาให้กับผู้อื่น ผู้อื่นเขาก็จะให้ความเมตตาตอบสนองต่อเรา ถ้าเราโกรธเขา เขาก็จะโกรธเราตอบเช่นกัน ความเมตตานี่แหละ คือ อาวุธ ที่จะปกป้องตัวเราเองให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง เป็นอาวุธที่ใครๆ จะนำเอาไปใช้ก็ได้ จัดว่าเป็นของดีนักแล” คิดได้ ปฏิบัติได้หรือไม่ คงเป็นเรื่องของแต่ละคน!!! เปิดประวัติ “วัดบ้านไร่” วัดเก่าแก่วัดหนึ่งในตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ที่ “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ” ได้พัฒนาจากสำนักสงฆ์เล็กๆ ขึ้นมาจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป โดยในแต่ละวันจะมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณ เป็นจำนวนมาก “วัดบ้านไร่” เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เดิมเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 ในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยมี พระอาจารย์เชื่อม วิรโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ได้มีการก่อสร้างศาสนอาคารต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นเจ้าอาวาสวัด ได้มีการพัฒนาวัดมากที่สุด ด้วยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล โดยหลวงพ่อคุณ ได้เริ่มสร้างอุโบสถขึ้นมา โดยมีชาวบ้านช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้นไม่ค่อยสะดวกนัก ไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จต้องเผชิญต่อการขนย้ายที่ยากลำบาก อาศัยโคเทียมเกวียน หรือใช้แรงงานคนลากจูงบนทางที่แสนทุรกันดาร แต่หลวงพ่อคูณ ก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณ ยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย จนปัจจุบันวัดบ้านไร่ได้มีการพัฒนา และมีผู้ใฝ่บุญจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาแสวงบุญกันไม่ขาดสาย วัดบ้านไร่ มีชื่อเสียงเนื่องจากมีหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นเจ้าอาวาสกับภาพที่เห็นกันชินตา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งถือกิ่งไม้ขนาดเล็กๆ ในมือเดินเคาะศีรษะลูกศิษย์ลูกหาที่เลื่อมใสศรัทธา ไม่เว้นแม้แต่นักการเมือง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ก็ต้องมาให้ท่านเคาะหัวให้เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป โดยในแต่ละวันจะมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณ เป็นจำนวนมาก หลวงพ่อคูณ เป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ นอกเหนือจากพินัยกรรมแล้ว ยังมีบันทึกกล่าวของหลวงพ่อคูณเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายของหลวงพ่อเอาไว้ชัดเจนอีกด้วยว่า
“...เมื่อกูตายแล้ว กูกลัวว่าศพของกูนี่แหละจะเป็นภาระยุ่งยากของลูกหลาน จะเกิดความสับสนวุ่นวาย เพราะคนที่มาหากู ฝากตัวเป็นศิษย์มีมากมายหลายประเภท มีทั้งดี ทั้งเลว ละโมบ โลภมาก มาแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ นานา โดยไม่กลัวบาปกรรม...อ้างตัวเป็นหลาน เป็นพี่ เป็นน้อง แต่ก็เปล่าด๊อก ถ้าเป็นพี่เป็นน้องของกูอย่างปากว่าจริงๆ ก็จะไม่มาสร้างความวุ่นวายยุ่งเหยิงให้เกิดแน่ กูจึงขอให้โรงพยาบาลมารับศพไปภายใน 24 ชั่วโมง และหลังจากสิ้นสุดการศึกษาค้นคว้าแล้ว ก็ให้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลเช่นเดียวกับศพของอาจารย์ใหญ่....” และสอดรับกับคำให้สัมภาษณ์ของนพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มข. ที่ให้ให้ข้อมูลว่า “อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ของ มข.หลายท่านเคยเข้าไปกราบหลวงพ่อคูณ ผมก็เคยได้ไปกราบท่านและหลวงพ่อได้พูดเสมอว่า อีกหน่อยกูก็ได้ไปอยู่กับมึงแล้ว ซึ่งแสดงถึงเจตจำนงอันแน่วแน่ของท่านที่ต้องการให้ร่างมาเป็นอาจารย์ใหญ่เพื่อประโยชน์สืบไป และท่านมักสั่งอย่างจริงจังเสมอว่า ให้ทำตามพินัยกรรม ไม่อนุญาตแม้กระทั่งลูกศิษย์จะขอบางส่วนของร่ายกายท่านไปไว้ที่วัดบ้านไร่” หลายคนเคยถามหลวงพ่อคูณว่า “...หลวงพ่อฯครับ เครื่องรางของขลังของที่ทำออกมามากมายจ่ายแจกไปนั้น จะคุ้มครองคนบูชาได้อย่างไร...” หลวงพ่อคุณตอบว่า “...ไอ้นายเอ้ย พวกมึงได้ไป ต้องมีศีลมีธรรม เอาเพียงศีลห้าก็พอ ทำได้ไหม กำให้อยู่ วันนึงๆ มึงจะมีสติกำอยู่ได้กี่ศีล นี่แค่ห้าข้อนะ พระนี่กำตั้ง 227 นะมึง....”
นี่คือความยิ่งใหญ่ของหลวงพ่อคูณที่สร้างคุณงามความดีทิ้งเอาไว้เป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งละสังขารจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ยังเสียสละเพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาในฐานะอาจารย์ใหญ่อีกด้วย
10 คำคม หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ นานาทัศนะ...หลวงพ่อคูณ
ทำบุญกับพระเจ้าอยู่หัว
“กูมีเรื่องสำคัญที่ตั้งใจไว้ก็คือ จะหาเงินถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพิ่มอีก 100 ล้านบาท เงินที่กูถวายก็เป็นเงินของพวกมึงนั่นแหละ... กูจะถวายเงินให้พระองค์ท่านนำไปใช้ประโยชน์ พัฒนาบ้านเมือง ยกเว้นกูตายเสียก่อนนั่นแหละถึงจะหยุดการถวายของกูได้”
ให้แล้วรวย
“การทำบุญ การที่ได้บริจาคทานกุศลนี่มันต้องฝึก ถ้าไม่ฝึกก็ทำไม่ได้ มันต้องอาศัยฝึกมาตั้งแต่เล็กมันจะได้เคย...คนที่ไม่เคยให้ทานเลย มีร้อยล้าน พันล้าน ก็ให้ไม่ได้ ให้ไม่ได้เพราะอะไร เพราะไม่ได้ฝึกมาก่อน ถ้าไปให้ทานเป็นแสนเป็นล้าน เดี๋ยวก็ป่วย เพราะเสียใจ เสียดายเงินที่บริจาคไป อย่างกูนี่ไม่เสียดายหรอก และ ไม่เสียใจด้วย ให้ไปเท่าไหร่ยิ่งดีใจเท่านั้น
“กูใช้เงินอย่างไม่มีเมตตาเลย ใช้อย่างทารุณ เงินเป็นทาสกู กูไม่ยอมเป็นทาสเงิน ใช้คนใช้ยังมีเมตตา ใช้เงินไม่มีเมตตาเลย ไม่มีวันหยุด เสาร์อาทิตย์กูก็ใช้ นัดคนมารับเงินตลอดทุกวัน ต้องใช้บริจาคให้ได้ อย่างน้อยหนึ่งหมื่นบาท”
ไปคนเดียว
“....เออพูดถึงความห่วงใยก็ได้แต่ห่วงใยกันอยู่นี่แหละมึงเอ๊ย พอจะตายจริงๆ ก็ช่วยกันไม่ได้ด๊อก ถ้าห่วงใยก็ไม่ยากด๊อก ให้ช่วยกันรักษาศีล รักษาทานไว้ อันนี้แหละจะช่วยพวกมึงได้ ห่วงใยกู กูก็ช่วยอะไรพวกมึงไม่ได้ดอก จริงๆ แล้วไม่มีใครช่วยใครได้ พวกเราจะช่วยได้ แค่ไปส่งที่เมรุนั่นแหละ เดินจูงรอบเมรุ 3 รอบก็โยนเข้าไปบึ้มนั้นแหละ มีแค่นั้น ส่งให้กูไปสู่สุคติก็ไม่ได้ ทุคติก็ไม่ได้ กูไปของกูเอง ถ้ากูทำดีกูก็ไปสู่สุคติ ถ้ากูทำไม่ดีกูก็ไปสู่ทุคติ พวกมึงอยากไปสู่สุคติก็พยายามรักษาศีล รักษาทานให้ดี จะได้เป็นพาหนะขับขี่ไปสู่สุคติ..”
ขอให้พี่น้องชาวไทย ละชั่วทำดี มีศีลธรรมประจำใจ เมื่อถึงเวลาดับจิต ผลดีที่ทำไว้ จะได้ติดตามไปสู่สุขติ รักตัวของตัวเอง อย่าทำความชั่วร้าย ให้มากนัก ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ตอนที่ 1
ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ตอนที่ 2
ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ตอนที่ 3
ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ตอนที่ 4 พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ตอนที่ 5 วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ) ตั้งอยู่ใน ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ) ตั้งอยู่ใน ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ตอนที่ 6 (จบ)
น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
ปฐมเหตุบริจาคอาจารย์ใหญ่ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธห้องจำลองบ้านเกิดของหลวงพ่อคูณ ในวันเวลาที่หลวงพ่อเกิด ๔ ตุลาคม ๒๔๖๖ พยัพ คำพันธุ์ ผู้แต่งเพลงหลวงพ่อคูณ
"สุวัจน์" เผยบารมีเหรียญหลวงพ่อคูณ "รุ่นคูณพิทักษ์" คุ้มครองรอดตายจากรถคว่ำหลายตลบพร้อมโชว์รุ่น "ยอดธง"ที่ผลิตมาแค่ 99 องค์เท่านั้น วันนี้ (19พ.ค.58) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงพ่อคูณ ให้สัมภาษณ์กับ TNN 24 ในรายการ"ขยายข่าว" เกี่ยวกับความศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อคูณ โดยระบุว่า หลวงพ่อคูณเป็นพระที่ยิ่งใหญ่เป็นผู้ให้ นำหลักธรรมคำสอนมาถ่ายทอดให้ชาวบ้านได้เข้าใจด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และปฏิบัติเป็นตัวอย่าง จึงไม่แปลกใจที่เมื่อหลวงพ่อคูณมรณภาพจะมีพุทธศาสนิกชนให้ความสนใจและศรัทธาในตัวหลวงพ่อคูณเป็นอย่างมาก อดีตรองนายรัฐมนตรียังเล่าอีกว่าหลวงพ่อคูณ ชื่นชอบกีฬาชกมวยเป็นอย่างมากเพราะถือเป็นกีฬาของคนไทย และปกติในวันเกิดหลวงพ่อคูณทุกปีในวันที่ 4 ตุลาคม จะมีการจัดทุกปี อดีตรองนายกฯยังเปิดเผยต่ออีกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตนเองโดยขับรถตกเหวและพลิกคว่่ำหลายสิบตลบ แต่กลับรอดชีวิตมาได้จึงเชื่อว่าที่รอดมาได้เพราะบารมีหลวงพ่อคูณ เนื่องจากได้พกเหรียญรุ่น"คูณพิทักษ์" ซึ่งหลวงพ่อคูณมอบให้ติดตัวกลับบ้าน หลังจากร่วมงานปลุกเสก ซึ่งเหรียญรุ่นนี้หลวงพ่อคูณสร้างขึ้นเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ แต่ทว่าเหรียญคูณพิทักษ์ได้หายไปหลังจาดเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้น นอกจากนี้อดีตรองนายกรัฐมนตรี ยังโชว์พระหลวงพ่อคูณรุ่นแรกที่เรียกว่ารุ่นยอดธง ซึ่งมีเพียง 99 องค์ ที่สร้างในปี 2538 ซึ่งในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดบ้านไร่ หลวงพ่อคูณจึงได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน 72 ล้านบาท
|