Home เรื่องเล่าตอนเข้าค่าย ประวัติ ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม
ประวัติ ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม
Friday, 16 March 2012 08:38
ดร.ดาราวรรณ  เด่นอุดม

ดร.ดาราวรรณ  เด่นอุดม
ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ 
วัดวะภูแก้ว   อำเภอสูงเนิน    จังหวัดนครราชสีมา

 

ประวัติ

นางสาวดาราวรรณ  เด่นอุดม  
เกิดวันที่  8  พฤษภาคม  2494  อายุ 61 ปี

ประวัติการศึกษา


ม.ศ. 5    โรงเรียนสตรีวิทยา  (ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 43 ของประเทศ)
อักษรศาสตร์บัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Ph.D)   มหาวิทยาลัย    Grenoble  ประเทศฝรั่งเศส   (คะแนนเกียรตินิยมดีเยี่ยม   เป็นอันดับ 1 ของรุ่น)


ประวัติการทำงาน

 2516 – 2521       ครูสอนภาษาฝรั่งเศส   โรงเรียนวัดมกุฎกษัตริย์


 2523 – 2544       ศึกษานิเทศก์   กรมสามัญศึกษา  เขตการศึกษา 11  
                             รับผิดชอบงานนิเทศการสอนวิชาภาษาฝรั่งเศส 
                             และ งานปลูกฝังคุณธรรม

 2544 – ปัจจุบัน     ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ 
                             วัดวะภูแก้ว  อำเภอสูงเนิน    จังหวัดนครราชสีมา

เกียรติประวัติ


2540        รางวัลเสาเสมาธรรมจักร   (ผู้ทำประโยชน์ต่อ   
                พระพุทธศาสนา   สาขาส่งเสริมผู้ปฏิบัติธรรม)


2544        ได้รับการประกาศเกียรติคุณ  จากสภาการศึกษาเป็น
               ครูภูมิปัญญาไทย   ด้าน ปรัชญา  ศาสนา และ
               ประเพณี  รุ่นที่ 2


          ดร. ดาราวรรณ  เด่นอุดม  เป็นบุคคลที่ทำงานมุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งดีๆ  สู่สังคมตลอดชีวิต   อุทิศแรงกาย  แรงใจ  ตลอดจนกำลังทรัพย์  กำลังสติปัญญา  ปลูกต้นกล้าธรรมะในจิตใจของเด็กๆ และ บุคคลทั่วไปในสังคม   ทั้งข้าราชการ  นักธุรกิจ  ภาคเอกชน  จนถึงผู้สูงวัย  ทวนกระแสสังคมวัตถุนิยม  ที่ให้ความสำคัญกับความเก่ง เงินตรา และ ยศถาบรรดาศักดิ์  มากกว่าความดี   สังคมปัจจุบันจึงเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยผู้ป่วยทางจิตใจ    ภูมิคุ้มกันความดีบกพร่อง  เสื่อมถอยทางคุณธรรมลงเรื่อยๆ

  


           ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเยียวยาสังคมที่อ่อนแอ  จึงเริ่มต้นที่การพัฒนาตัวเองให้แข็งแกร่งก่อน   ด้วยการฝึกจิตตนเองตามแนวทางของพระพุทธศาสนา  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2523   ตามรอยพ่อแม่ครูบาอาจารย์กรรมฐานสายพระป่า โดยได้มีโอกาสได้รับธรรมะและคำสอนภาคปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนและละเอียดลึกซึ้งโดยตรง จากพระอริยบุคคลหลายองค์  ได้แก่

          1. พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์  อตุโล)   วัดบูรพาราม   จ.สุรินทร์
          2. พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)   วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ .หนองคาย
           3. พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)       วัดป่าบ้านตาด  อ.เมือง จ.อุดรธานี
           4.  พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)     วัดป่าสาลวัน       จ.นครราชสีมา
           5. พระอาจารย์อุทัย สิริธโร วัดเขาใหญ่เจริญธรรม ญาณสัมปันโน      อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา
           6.  พระอาจารย์โสภา สมโณ    วัดแสงธรรมวังเขาเขียว         อ.วังน้ำเขียว  จ.นครราชสีมา

 

        จากการศึกษาทางพระพุทธศาสนาทั้งปริยัติและปฏิบัติได้พบว่าพุทธธรรม  โดยเฉพาะเรื่องการฝึกจิต   เป็นยาขนานเอกที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางใจไม่ให้หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุคือ กิเลส  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง    สามารถควบคุมตนเองไม่ให้ประพฤติผิดศีลธรรม   ผิดกฎหมาย  ผิดกฎกติกา   ผิดจารีตประเพณีอันดีงามได้     เพราะพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับ  “จิต”  ซึ่งเป็นผู้สั่งกายและวาจา   ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่   มีใจเป็นประธาน  ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ” 


        กระบวนการฝึกจิตโดยหลักไตรสิกขา  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา   จึงเป็นกระบวนการแก้ปัญหาสังคมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ตรงจุดที่สุด  คือแก้ปัญหาที่ต้นตอคือจิตผู้สั่ง และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน  พัฒนาจากภายในไปสู่ภายนอก   ผู้ที่ฝึกจิตไว้ดีแล้วจึงไม่ก่อปัญหาให้กับตัวเองและสังคม   ในทางตรงกันข้ามจะเป็นบุคคลที่สร้างสรรค์สังคมได้เป็นอย่างดี

  


         ด้วยความที่มีความศรัทธาเชื่อมั่นในหลักการดังกล่าว  จึงเลือกที่จะปฏิบัติงานในจุดที่สามารถทำประโยชน์ด้านนี้ได้เต็มที่  โดยไม่สนใจงานที่สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าทางราชการ  ทั้งค่าตอบแทนที่สูงกว่าและเกียรติยศที่จะได้รับ ที่มีผู้ทาบทามจากหลายหน่วยงาน  เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ  เพราะเห็นว่าระบบการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการมากกว่าด้านคุณธรรม,  องค์กรระหว่าประเทศที่มีเงินเดือนสูงกว่าราชการหลายเท่า  แต่เนื้องานเป็นเรื่องวัตถุมากกว่าจิตใจ  ได้เงินแต่ไม่ได้บุญ


           ดังนั้นในปี 2544  จึงได้ตัดสินใจลาออกจากราชการ ซึ่งถึงแม้จะมีโอกาสทำงานด้านวิชาการควบคู่กับงานคุณธรรม   แต่การทำงานด้านคุณธรรมทำได้ไม่เต็มที่ เพราะต้องห่วงภาระรับผิดชอบงานด้านวิชาการด้วย


           ปัจจุบันรับผิดชอบโครงการอบรมพัฒนาจิต  ณ ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา


           ดร.ดาราวรรณ  เด่นอุดม ได้ทำงานสร้าง “คน” ให้เป็น “มนุษย์” (ผู้มีใจสูง) มากว่า 20 ปี 

 

         เริ่มจัดโครงการอบรมพัฒนาจิตครูและนักเรียนตั้งแต่ปี 2529   จากนั้นได้ขยายผลไปสู่หน่วยงานราชการอื่นๆ  ทั้ง มหาวิทยาลัย  ทหาร  ตำรวจ  อบต. โรงพยาบาล และภาคเอกชน  ได้จัดอบรมไปแล้วกว่า 700 รุ่น   รุ่น ๆ ละประมาณ 300 – 400 คน  รวมแล้วกว่า  200,000  คน

 


           นอกจากการจัดอบรมที่ ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว เป็นหลักแล้ว  ยังรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายตามสถานที่ต่างๆ ทั้งบรรยายถวายความรู้  พระภิกษุ  สามเณร   บรรยายตามหน่วยงานราชการ และภาคเอกชน


           นอกจากนี้ยังได้จัดทำหนังสือ ฐานิยปูชา ซึ่งเป็นธรรมะของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย  เผยแพร่มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2532  จนถึงปัจจุบัน   จัดพิมพ์ปีละประมาณ  30,000 เล่ม


ในการทำงานต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่างเช่น


- การต่อต้านจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานที่ให้ความสำคัญกับงานด้านวิชาการมากกว่า
- สถานที่จัดอบรม (วัดวะภูแก้ว) ในช่วง 4-5 ปีแรกมีความทุรกันดารมาก  เป็นทางลูกรังที่ขรุขระ การเดินทางยากลำบากมาก, ไม่มีน้ำประปาใช้  ต้องสั่งซื้อน้ำเป็นรถในราคาแพงมาก หรือเดินไปอาบน้ำที่น้ำตกวะภูแก้วซึ่งอยู่ไกลประมาณ 2 กิโลเมตร,  ที่พักไม่พอเพียงต้องนอนในเต็นท์เป็นบางส่วน
- ช่วง 4-5 ปีแรกทำงานโดดเดี่ยว  ยังไม่มีทีมงานต้องดูแลผู้อบรมตั้งแต่ ตี 4  จนถึง 4-5 ทุ่ม   ภายหลังมีผู้ศรัทธาในงานจึงสมัครมาร่วมเป็นวิทยากรเพิ่มขึ้น
- ตั้งแต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและน้ำมันแพง    โรงเรียนมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงมาก   ไม่มีงบประมาณค่าอาหาร   จึงต้องช่วยหาทุนสนับสนุน  ด้วยการก่อตั้งมูลนิธิสารธารธรรมในความอุปถัมภ์ของพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)    เพื่อนำดอกผลมาช่วยแบ่งเบาภาระของโรงเรียนและนักเรียน  และหาเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเพิ่มเติม   ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายช่วยค่าอาหารนักเรียนประมาณปีละ  1,500,000 บาท


           แต่ปัญหาอุปสรรคและความยากลำบากเหล่านี้   ไม่ได้ทำให้เกิดความท้อถอย   ยังมุ่งมั่นทำงานต่อไป แม้วัยจะล่วงมากว่า 60 ปีแล้ว   ด้วยอุดมการณ์ที่จะสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุขและความงอกงามทางจิตใจมากขึ้น   ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและพฤติกรรมของผู้ผ่านการอบรม   เป็นกำลังใจสำคัญ  ที่ทำให้สามารถฝ่าฟันและต่อสู้กับความเหนื่อยยากและปัญหาอุปสรรคต่างๆ


 

           จากการต่อต้านและไม่เต็มใจเข้าอบรมของผู้เข้าอบรมอย่างน้อย 80 % ในวันแรกของการอบรม กลับกลายมาเป็นความประทับใจ  พอใจ  ที่ได้เข้าปฏิบัติธรรม ไม่ต่ำกว่า 90 %   ในวันปิดอบรม   เกิดศรัทธาและเห็นคุณค่าของพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรม    เกิดสำนึกผิดชอบชั่วดี   ต้องการละเลิกสิ่งผิด   ประพฤติตนอย่างมีคุณธรรม   ใช้ธรรมะในการดำเนินชีวิต   แก้ปัญหาชีวิตด้วยสติปัญญา  ดังประสบการณ์ที่ผู้ผ่านการอบรมได้ถ่ายทอดในวัดปิดอบรม   และได้คัดเลือกจัดพิมพ์รวมเล่มไว้หลายเล่ม  ได้แก่


• เด็กเล่าให้ฟัง
• นักศึกษาคิดอย่างไรเมื่อไปวัด
• เมื่อตำรวจตบเท้าเข้าวัด
• ครั้งหนึ่ง  ที่ฉันเข้าวัด

เด็กเล่าให้ฟัง
เด็กเล่าให้ฟัง
เมื่อตำรวจตบเท้าเข้าวัด

Last Updated on Friday, 16 March 2012 09:17
 

ค้นหา (พิมพ์คำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม Enter)

ร้านจักรวาลอ๊อกซิเย่น

Banner

น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

Banner

เข้า Facebook ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว

Banner

แห่เทียนพรรษา 2558

Banner

ฐานิยปูชา 2556

Banner

www.thaniyo.net

Banner

ฐานิยปูชา 2555

Banner

เชิญชม วิดีโอ การแสดงธรรมของ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Banner

วัดป่าสาลวัน

Banner

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Banner

palungdham.com

Banner

ฐานิยปูชา 2553

Banner

สำรวจความคิดเห็น

เหตุผล สำคัญที่สุด ในการเข้ารับการอบรมพัฒนาจิต ที่วัดวะภูแก้ว ?
 

แบบสำรวจความคิดเห็น

วัดวะภูแก้วควรปรับปรุงเรื่องใดมากที่สุด
 

แบบสำรวจ

พระสงฆ์ในทัศนะของท่าน ?
 

โปรดแสดงความคิดเห็นของท่านได้ที่สมุดเยี่ยม

Banner